“เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา แต่เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งอุปาทาน นี่แหละ คือ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์”

ปฏิบัติสมถะ วิปัสสนา โดยอานาปานสติ คือ ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือเพื่อให้เราเกิดสติขึ้น 

เมื่อมีสติ รับรู้ลมหายใจเข้า-ออก เกิดสมาธิ จิตสงบ ระงับลงๆ คือ เป็นสมถะ

จากนั้นพิจารณาให้เห็นว่า ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เกิดจากผัสสะที่เข้ามากระทบ เกิดเวทนา คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ จึงเกิดตัณหา จึงเกิดอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เกิดภพ สภาวะ เกิดชาติ ชรา หมุนวนไป ไม่จบสิ้น

จะดับทุกข์ได้ “จิตต้องเห็นเวทนาเป็นของไม่เที่ยง อนิจจัง เห็นเวทนาเป็นของสิ้นไปเสื่อมไป เป็นธรรมดา”

เห็นอย่างนี้บ่อยๆ สะสมๆๆ เป็นปัญญา ตัณหาจะค่อยๆ จางคลาย จนจิตปล่อยวาง คลายความยึดมั่นถือมั่น ตัณหาดับ อุปาทานดับ ทุกข์จึงดับ นั่นเอง. 


Timeline
[00:00] ทำสมถะให้เกิดด้วยอานาปานสติ
[26:01] สมาธิเกิดขึ้นได้จากการสะสมกำลังของสติ
[32:10] ความหมายที่แตกต่างของ ผัสสะ เวทนา สัญญา
[37:09] ความพอใจไม่พอใจในเวทนาคือตัณหาก่ออุปาทาน
[46:17] กำจัดจุดอ่อนของกระบวนการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ คือ เวทนา โดยการเห็นความไม่เที่ยง