พระอริยบุคคล และบิดา-มารดา จัดเป็น “อาหุไนยบุคคล” คือ บุคคลผู้มีคุณ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย นำมาบูชา นำมาให้

เริ่มพระสูตรแรกในฉักกนิบาต (หมวดธรรม 6 ข้อ) ฉบับมหาจุฬาฯ โดยข้อแรก-ข้อ 7 นี้ คือ คุณสมบัติของภิกษุ (นัยยะนี้ หมายถึง พระอรหันต์) ที่เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ (สังฆคุณ 5 ข้อหลัง) ซึ่งจะมีคุณสมบัติดังนี้

ข้อ#1 เมื่อเกิดผัสสะกระทบกันกับอายตนะทั้ง 6 แล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ข้อ#2 มีวิชชา (อภิญญา 6) ได้แก่ แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ระลึกชาติได้ และกำจัดอาสวะได้

ข้อ#3-#4 มีอินทรีย์ (ความแก่กล้า) และพละ (กำลัง) ใน ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา และทำอาสวะให้สิ้นไปได้

ข้อ#5-#7 (สูตร 1-2-3) อุปมาม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ที่มีความอดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สมบูรณ์ด้วยสี กำลัง และฝีเท้า อุปไมยกับภิกษุที่อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อาหุเนยยวรรค

อ่าน “ปฐมอาหุเนยยสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


Timeline
[05:10] ทำความเข้าใจ ฉักกนิบาต-หมวดธรรม 6
[10:06] ปฐมอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 1
[12:34] ความแตกต่างระหว่าง อาหุไนยบุคคล และทักขิไณยบุคคล
[26:23] ติยอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 2
[36:26] อินทริยสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ และพลสูตร ว่าด้วยพละ
[43:35] ปฐม-ทุติย-ตติยอาชานียสูตร ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ 1-2-3