เจริญอานาปานสติ เพื่อที่จะควบคุมความคิด ควบคุมความคิด โดยการฝึกสติ

ไม่ใช่หยุดคิด แต่เป็นการที่ให้รู้ความคิด คำว่า “รู้” หมายถึง มีสติ ระลึกรู้ โดยใช้เครื่องมือ คือ ลมหายใจ

ลมหายใจเป็นป้อมยาม สติ คือ ยาม คือ การระลึกได้ เป็นยามมาอยู่ที่ลมหายใจ

สติ-สมาธิ ไม่ใช่จะเป็นของที่ได้มาด้วยการข่มขี่ บังคับ ห้ามปรุงแต่ง แต่ได้มาด้วย “ความเพียร” จะได้มาด้วยความสงบระงับ

มีอะไรให้ กำหนดรู้เฉยๆ สังเกตดูเฉยๆ ดูผัสสะต่างๆ ผ่านมาทางประตูทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เข้าสู่จิต เปรียบเหมือนสัตว์หกชนิด นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก จระเข้ งู ลิง ผูกไว้กับเสา คือ สติ ให้จิตน้อมไปทางมีสติ คือ อยู่ที่เสา หรือลมหายใจ “จิตน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นก็ยิ่งมีกำลัง” ความคิด ความฟุ้งซ่านก็อ่อนกำลังลง

ช่วงแรกๆ ขณะที่มีสติ สังเกต สิ่งต่างๆ นั้น นิวรณ์ มันก็ยังอยู่ สมาธิยังไม่เกิด

หากแต่เราฝึกไปเรื่อยๆ จะมีช่วงเวลาที่สติเกิดขึ้น และค่อยๆ กำจัดนิวรณ์ออกได้ทีละนิดๆ

ช่วงนี้ คือ จิตเป็นสมาธิแล้ว จุดนี้ เราจะเลือกคิดได้ ว่าจะคิดเรื่องอะไร คิดแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรต่างๆ

ฝึกเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน เราจะสามารถควบคุมความคิดได้


Timeline
[00:07] เจริญอานาปานสติเพื่อเข้าถึงความคิด
[08:34] ไม่ใช่หยุดคิดแต่ให้รู้ความคิด รู้ความคิดได้ด้วยสติ เครื่องมือ คือ ลมหายใจ
[13:38] จิตน้อมไปทางไหนสิ่งนั้นจะมีพลัง
[24:07] ตั้งสติทำให้เป็นธรรมชาติ ทั้งหกช่องทาง สังเกต แยกแยะ
[30:46] ธรรมชาติของจิต
[37:37] ตั้งจิตไว้ในเรื่องที่เป็นสัมมาสติ
[43:42] จิตจะมีพลังพ้นโรค
[51:06] สติกำจัดนิวรณ์ก่อให้เกิดสมาธิ
[55:55] สรุป