เจริญธรรมานุสติปัฏฐาน ใคร่ครวญธรรมะที่เรียกว่า อวิชชา “อวิชชาย่อมปรากฏเพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย”

อวิชชาแปลว่าความไม่รู้ ไม่รู้ในอวิชชาแปดอย่าง อวิชชามีคุณสมบัติ

  • ทำให้เราเกิดความเพลิน
  • จึงทำให้เรารู้เป็นส่วนๆ และไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องราวสถานการณ์โดยรวมว่า สังสารวัฏ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นอย่างไร
  • ความไม่รู้ทำให้เราไม่รู้ตัว เวลาถูกกิเลสเผาอยู่
  • ทำให้เราเข้าใจผิดพลาดไปว่า “ทุกข์คือสุข”, เข้าใจผิดว่า สัมมาวายามะ ทำความเพียรคือทุกข์, เข้าใจผิดว่าสัมมาสติ สัมมาสมาธิเป็นความเบื่อหน่าย
  • อวิชชาปิดเรื่องราว ปิดความเข้าใจทำให้ เราไม่รู้เรื่องราวทั้งหมด เพื่อให้ตัวอวิชชาเจริญขึ้น ๆ

อวิชชาเจริญได้เพราะมีอาหารคือนิวรณ์ทั้งห้า วิจิกิจฉา ความฟุ้งซ่าน ความง่วงซึม ความโกรธ ความอยากความเพ่งเล็ง นิวรณ์ห้า เกิดจากความทุจริตทางกาย วาจา ใจ, ทุจริตสามเกิดจากไม่สำรวมอินทรีย์, ไม่สำรวมอินทรีย์เกิดจากการขาดสติ สัมปชัญญะ จนเกิดอกุศลขึ้น

หากแต่เราฝึกสติ สัมปชัญญะ เรื่อย ๆ โดยการใช้ปัญญาพิจารณาอย่างแยบคาย หรือ โยนิโสมนสิการ โดยการหมั่นฟังพระสัทธรรม, เลือกคบสัตบุรุษหรือกัลยาณมิตรคือคนที่ทำให้กุศลจิตเกิดขึ้นได้ จึงเกิดศรัทธา ความมั่นใจ

จิตอยู่ตรงไหน สติก็อยู่ตรงนั้น, สติอยู่ตรงไหน อวิชชาก็อยู่ตรงนั้น, อวิชชาอยู่ไปทุกที่, วิชชาก็เกิดได้ทุกที่ไปหมด

สติ สมาธิ ปัญญาอยู่ตรงไหน วิชชาอยู่ตรงนั้น, อวิชชาก็ดับไปตรงนั้น

พิจารณาสมถะ วิปัสสนา เห็นความไม่เที่ยง พิจารณาอย่างแยบคาย, วิชชา ความรู้ก็เกิดขึ้น, อวิชชา ความไม่รู้ก็เบาบางลง พิจารณาอย่างนี้เรื่อยๆบ่อยๆ จนไม่มีอาหารของอวิชชา, “วิชชาเกิด อวิชชาก็คว่ำลงหมด” นั่นคือ ดับเย็นคือพระนิพพาน เป็นการดับของอวิชชา ดับแบบถอนรากถอนโคน.


Timeline
[00:07] พิจารณาธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผ่านอวิชชา
[05:03] อวิชชายิ่งปิดยิ่งเจริญ
[07:32] ต้องรู้คุณสมบัติของอวิชชา
[29:56] อาหารของอวิชชา คือ นิวรณ์ห้า
[31:20] อาหารของนิวรณ์คือทุจริตสาม
[31:39] อาหารของทุจริตสาม คือ การไม่สำรวมอินทรีย์
[32:31] อาหารของการไม่สำรวมอินทรีย์คือการไม่มีสติสัมปชัญญะ
[32:45] อาหารของการไม่มีสติสัมปชัญญะคือการไม่ใคร่ครวญโดยแยบคาย
[42:51] แก้มาที่ใจจึงจะจบ ทำวิชชาให้แจ้ง อวิชชาจะดับไป
[46:57] องค์ประกอบที่ทำวิชชาให้เกิดคือสมถะและวิปัสสนา
[55:06] การคว่ำลงของอวิชชา