Q: ความหมาย และความเป็นมาของ “กฐิน”

A: กฐินแยกตามศัพท์ มีความหมาย คือ ไม้สะดึง ผ้าที่ทำเสร็จแล้วสำหรับใช้ในพิธีกรานกฐิน งานบุญ สำหรับพระสงฆ์ หมายถึง พิธีกรรมหรือพิธีกฐิน

ความหมายของกฐิน หมายถึง ผ้าที่ทำโดยเฉพาะหมู่ภิกษุ ที่สามัคคีกัน อยู่ในอาวาสใดอาวาสหนึ่งมาตลอดเข้าพรรษาเท่านั้น จึงพิเศษ ด้วยเวลา คือ เฉพาะ 1 เดือนหลังออกพรรษา ผู้ทำผ้า คือ หมู่พระที่อยู่ในนั้นทำด้วยกัน, ผู้รับ คือ พระที่อยู่ในหมู่นั้นเท่านั้นเป็นผู้รับ และด้วยสิ่งของสิ่งนั้นเรียกชื่อพิเศษว่า “กฐิน”

ความเป็นมาของกฐิน สืบเนื่องมาจากพระภิกษุ ตั้งใจจะมาหาพระพุทธเจ้า ออกเดินทางมาต้นฤดูฝน จนใกล้ถึงวัด แต่ด้วยติดในช่วงเข้าพรรษาจึงต้องรอจนกว่าจะออกพรรษาแล้วค่อยออกเดินทาง ด้วยการเดินทางในหน้าฝน พระภิกษุเหล่านั้นจึงมาด้วยความไม่เรียบร้อย จีวรเปียก เปื้อน ขาด พอท่านทราบและเห็นถึงความสามัคคีพร้อมใจ ตั้งใจ ท่านจึงอนุญาต ให้พระสงฆ์สามารถรับผ้ากฐินได้

Q: ความสัมพันธ์ของขันธ์ 5 และโลกธรรม 8 และการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน?

A: ขันธ์ 5 คือ กองทุกข์ คือ กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ (อุปทานขันธ์ 5) เราต้องกำหนดรู้ ต้องเข้าใจมัน คำว่า ปริญญา มาจากคำว่าเข้าใจ คือ ปริญเญยยในขันธ์ 5 ถึงหน้าที่ ที่ต้องทำแตกต่างกัน/อริยะสัจสี่ ได้แก่ 1. ทุกข์ ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นทุกข์ เราต้องกำหนดรู้ ทำความเข้าใจ 2. สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา ตัณหาจะทำให้เกิดทุกข์มากขึ้นๆ เราต้องละเสีย 3. นิโรธ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เราต้องทำให้แจ้ง (สำเร็จ) 4. มรรค คือ ทางดำเนินให้ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ คือ องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เราต้องทำให้มากเจริญให้มาก จะทำให้ความทุกข์ลดลง/โลกธรรม 8 อยู่ในส่วนของทุกข์ เพราะว่ามันไม่เที่ยง เป็นอริยสัจคือทุกข์/ขันธ์ 5 กับโลกธรรม 8 คือ อย่างเดียวกันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือคืออุปทานได้ทั้งสองอย่าง


Timeline
[03:46] ความหมายและความเป็นมาของ “กฐิน”
[26:09] ความสัมพันธ์ของขันธ์ 5 และโลกธรรม 8 และการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน?