Q: เกร็ดความรู้วันออกพรรษา

A: ประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีตักบาตรเทโว/พระสงฆ์มีการปวารณา คือ ออกตัวให้ติเตียน ตักเตือนได้หรือออกตัวให้ขอได้/สำหรับผู้ปฏิบัติ จะเป็นวันประมวลผลว่าในช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ได้ทำในสิ่งตั้งใจไว้สำเร็จหรือไม่

Q: นั่งสมาธิแล้วจิตฟุ้งซ่าน ควรแก้ไขอย่างไร?

A: นั่งสมาธิก็สามารถคิดได้ เราต้องแยกแยะ ความคิดที่เข้ามาในช่องทางใจ หากคิดดี คิดกุศล คิดได้ เราอย่าบังคับจิต อย่าอยาก เพราะสมาธิจะไม่ได้มีได้ด้วยการข่มขี่บังคับ สติจะมีกำลังได้ด้วยการสังเกตดูเฉยๆ ไม่ตาม ไม่เพลิน ไปในความฟุ้งซ่าน จะทำให้สติมีกำลัง ความฟุ้งซ่านก็จะค่อยๆ หายไป เกิดความสงบระงับ เป็นสมาธิ

Q: เมื่อนั่งสมาธิ แล้วเกิดเวทนา สามารถเปลี่ยนอริยาบท ได้หรือไม่ หรือควรอดทนแล้วพิจารณาเวทนา?

A: สามารถทำได้ทั้ง 2 อย่าง คือ ถ้าไม่เปลี่ยนท่า สามารถใช้วิธี 1. สุขาปฏิปทา 2. ทุกขาปฏิปทา ถ้าเปลี่ยนท่า มี 2 ขั้นตอนคือ 1. ตั้งสติไว้ อย่าให้มีความไม่พอใจในเวทนานั้น แล้วค่อยๆ เปลี่ยนท่า 2. มีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อมในการขยับกาย 3. อย่าให้มีความยินดีพอใจในสุขเวทนาท่าใหม่นั้น ให้ตั้งสติไว้ อย่าเพลินไปตามเวทนาใหม่

Q: การปฎิบัติ หากฟังธรรมะ ไปด้วย  เราควรอยู่กับพุทโธ หรืออยู่กับการฟังธรรมะ หรืออยู่ควบคู่กันไป

A: หากต้องการฟังธรรม จิตเราต้องเป็นสมาธิ อย่าเข้าสมาธิลึกจนเกินไป ให้ตั้งจิตไว้กับการรับรู้ทางเสียง (โสตวิญญาณ)

Q: ชอบซื้อของเข้าบ้าน  แต่ตัดใจที่จะทิ้ง หรือบริจาคของไม่ได้  เพราะยังเสียดายอยู่ ควรวางจิตอย่างไร?

A: ควรบริจาค/สละออก เพราะการหวงสมบัติไม่ดี ความเสียดาย ความตระหนี่ จะพาเราไปนรก


Timeline
[02:28] เกร็ดความรู้วันออกพรรษา
[10:16] นั่งสมาธิแล้วจิตฟุ้งซ่าน ควรแก้ไขอย่างไร?
[28:46] เมื่อนั่งสมาธิ แล้วเกิดเวทนา สามารถเปลี่ยนอริยาบท ได้หรือไม่ หรือควรอดทนแล้วพิจารณาเวทนา? 
[41:56] ในการปฎิบัติ หากฟังธรรมะไปด้วย เราควรอยู่กับพุทโธ อยู่กับการฟังธรรมะ หรืออยู่ควบคู่กันไป?
[50:28] ชอบซื้อของเข้าบ้าน  แต่ตัดใจที่จะทิ้ง หรือบริจาคของไม่ได้ เพราะยังเสียดายอยู่ ควรวางจิตอย่างไร?