Q: เกษียณให้ได้ประโยชน์

A: เป็นโอกาสที่จะสร้างคุณค่าแก่ชีวิตของเรา ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ สร้างกุศล ให้จิตใจอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ให้ได้ จะทำให้การเกษียณได้ประโยชน์อย่างเต็มที่

Q: การวางจิตของอุบาสิกาที่เป็นพยาบาลเมื่อต้องดูแลรักษาพระภิกษุผู้อาพาธ?

A: พระวินัยเป็นข้อบังคับของพระสงฆ์ อุบาสิกาผู้เป็นพยาบาลให้ตั้งจิตให้ถูก ข้อบังคับนี้ ไม่ได้รวมถึงอุบาสิกา หากแต่ ก่อนเข้าทำการหัตถาการ ต้องขออนุญาต และบอกกล่าวท่านให้ทราบก่อน เพื่อที่ ท่านจะได้วางจิตได้ถูกต้อง และควรมีชายที่รู้เดียงสา หรือพระสงฆ์รูปอื่นอยู่ร่วมด้วย

Q: เมื่อพระภิกษุต้องไปพยาบาลดูแลรักษามารดาสูงอายุที่เจ็บป่วยไข้

A: ด้านการถูกเนื้อต้องตัว ถ้าไม่มีจิตกำหนัด ไม่ผิด/ด้านการอุปถัมภ์ดูแล ท่านกล่าวว่า พระดูแลได้มากที่สุด คือ เรื่องของปัจจัยสี่ ซึ่งหากเป็นการลงมือทำเองนั้นเป็นเรื่องของฆราวาส อาจจะต้องจัดหาคนมาดูแลแทน เช่น สถานพยาบาล บ้านพักคนชรา

Q: อนุพยัญชนะคืออะไร?

A: อยู่ในหมวดของการสำรวมอินทรีย์ แบ่งเป็น 2 อย่างคือ 1. โดยนิมิต (ดูโดยรวม) 2. โดยอนุพยัญชนะ (ดูแยกเป็นส่วน แต่ละส่วนๆ) 2 อย่างตรงข้ามกันแต่มาด้วยกัน หาก 2 อย่างนี้ เกิดบาปอกุศลกรรมขึ้น นั่นคือ การไม่สำรวมอินทรีย์ (บาปอกุศลกรรม คือ ความเพ่งเล็งหรือ “อภิชฌา”)/การสำรวมอินทรีย์ หมายความว่า ไม่ให้บาปอกุศลกรรมเกิดขึ้นในจิตของเรา คือ มีสติ รักษาจิต เป็นตัวจัดระเบียบเมื่อมีผัสสะมากระทบ ก็จะไม่ไปตามอาสวะนั้น

Q: กระบวนการป้องกันรักษาสำรวมอินทรีย์

A: ต้องฝึกสติเพื่อรักษาจิต เปรียบเสมือน นายทวารที่รักษาประตู

Q: เตรียมตัวสำรวมใจเมื่อไปร้านอาหารสั่งผิด

A: เราตั้งสติไว้ เตรียมพร้อมรับมือ ไม่เผลอ ไม่คาดหวัง


Timeline
[03:21] เกษียณให้ได้ประโยชน์
[12:26] การวางจิตของอุบาสิกาที่เป็นพยาบาลเมื่อต้องดูแลรักษาพระภิกษุผู้อาพาธ?
[23:05] เมื่อพระภิกษุต้องไปพยาบาลดูแลรักษามารดาสูงอายุที่เจ็บป่วยไข้
[27:25] อนุพยัญชนะคืออะไร?
[39:45] กระบวนการป้องกันรักษาสำรวมอินทรีย์
[50:04] เตรียมตัวสำรวมใจเมื่อไปร้านอาหารสั่งผิด