การจะพูดอะไรนั้น ให้เรามีสติระลึกให้ดี ว่าคำพูดนั้นมีประโยชน์อย่างไร…ให้พูดแต่พอดี อย่ากล่าววาจาอันเป็นโทษ มีความอดทน แล้วเห็นโทษนั้นด้วย “ปัญญา”

ทันตกัฏฐสูตร #ข้อ208 โทษของการไม่แปรงฟัน คือ ตาฝ้าฟาง ปากเหม็น รับรู้รสได้ไม่ดี อาหารย่อยยาก มีรสไม่อร่อย

คีตัสสรสูตร #ข้อ209 โทษของการแสดงธรรมด้วยเสียงขับร้อง คือ แม้ตนเอง และผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น พวกคฤหัสตำหนิ สมาธิเสื่อม คนรุ่นหลังเอาแบบอย่าง

มุฏฐัสสติสูตร #ข้อ210 หลงลืมสติก่อนนอนมีโทษทำให้หลับ-ตื่นเป็นทุกข์ ฝันร้าย เทวดาไม่รัก และน้ำอสุจิเคลื่อน

อักโกสกสูตร #ข้อ211 การด่าเพื่อนพรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะมีโทษคือ ต้องอาบัติร้ายแรง จิตเศร้าหมอง เป็นโรคร้าย หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก

ภัณฑนการกสูตร #ข้อ212 ทำความบาดหมางให้แตกกัน มีโทษ คือ จะไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เลื่อมจากธรรม กิตติศัพท์อันชั่วขจรไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก

สีลสูตร #ข้อ213 ผู้มีศีลวิบัติมีโทษคือ จะเสื่อมจากโภคทรัพย์ เสื่อมเสียชื่อเสียง กังวลใจ หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก

พหุภาณิสูตร #ข้อ214 ผู้พูดมากจะมีโทษเป็นเหตุให้พูดเท็จ ส่อเสียด พูดหยาบ เพ้อเจ้อ ตายแล้วไปเกิดในนรก

ปฐม-ทุติยอักขันติสูตร #ข้อ215-#ข้อ216 หัวข้อเหมือนกัน มีไส้ในสรุปรวมลงได้ 7 ข้อ ว่าด้วยโทษของความไม่อดทน คือ ไม่เป็นที่รัก มากด้วยเวร เพ่งโทษ ดุร้าย มีความร้อนใจ หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กิมพิลวรรค อักโกสกวรรค

อ่าน “ทันตกัฏฐสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


Timeline
[04:19] ทันตกัฏฐสูตร ไม้สีฟัน
[13:53] คีตัสสรสูตร โทษของการแสดงธรรมด้วยเสียงขับยาว
[21:51] มุฏฐัสสติสูตร ภิกษุผู้หลงลืมสติ
[28:33] อักโกสกสูตร โทษของการด่า
[34:00] ภัณฑนการกสูตร โทษแห่งการทำความบาดหมาง
[37:31] สีลสูตร ว่าด้วยศีล
[43:38] พหุภาณิสูตร บุคคลผู้พูดมาก
[49:54] ปฐม-ทุติยอักขันติสูตร ความไม่อดทน สูตร 1-2