Q: ควรแก้ไขอย่างไรเมื่อติดสุขในสมาธิ?
A: อาการติดสุขในสมาธิ แบบแรก คือ เมื่อนั่งสมาธิแล้วสามารถทำได้ เมื่อไม่นั่งจะหงุดหงิด อารมณ์เสีย แบบที่สอง คือ สงบ นิ่ง ได้ แต่ไม่น้อมไปเพื่อให้เกิดปัญญาในการเห็นตามจริง ไม่เห็นความไม่เที่ยง ไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัด (นิพพิทา) พอสมาธิค้างตรงนี้ จึงไม่เกิดการปล่อยวาง ให้เราน้อมจิตไปอีกทางหนึ่ง คิด ใคร่ครวญให้แยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่าสมาธิเที่ยงหรือไม่เที่ยง นี่คือการ “วิปัสสนา” เห็นตามความเป็นจริง “วิปัสสนา เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว ปัญญาจะเจริญ ปัญญา เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว จะละอวิชชาได้ “ ต้องฝึกเข้า ออกอยู่เรื่อยๆ
Q: ความง่วงขณะนั่งสมาธิ ถูกกระตุ้นโดยทางกายหรือใจ? / การนอนหลับ จิตจะได้พักหรือไม่ หรือไปรับรู้สิ่งใด?
A: ความง่วง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ ทางกาย หากเหนื่อย เมื่อยล้า ก็ง่วงได้ ทางใจ หากมีสมาธิมากแล้วเพลินในสมาธิ ก็จะออกมาในรูปของการง่วงซึม เป็นเครื่องกั้น (นิวรณ์)/การนอนหลับ จิตกับกายไม่เหมือนกัน กายเป็นธาตุสี่ จิตเป็นนาม ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกายกับใจเข้าด้วยกัน ขณะหลับ กายได้พักผ่อน ไม่รับรู้อะไร เพราะจิตไม่ได้ไปทำหน้าที่ในการรับรู้ (วิญญาณ) จิตนั้นเกิดขึ้นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน ไม่จำเป็นต้องพักผ่อน ไม่มีข้อจำกัดเหมือนกาย
Q: เมื่อต้องรักษาอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ควรวางจิตอย่างไร?
A: ให้รักษาจิตไว้ด้วยสติ ระลึกถึงความดี ศีล ศรัทธา ของเรา หากมีความกังวลใจ ให้ทำสมาธิให้เกิด ให้มีสติ ระลึกถึงความดี ศีล ศรัทธา ตั้งจิตไว้อย่างนี้ เราจะอยู่ผาสุกได้
Q: ในมงคลชีวิต เรียบเรียงเนื้อหาจากง่ายไปยากใช่หรือไม่?
A: เป็นไปตามลำดับขั้นเริ่มจากปฏิบัติขั้นพื้นฐานไปขั้นสูง
Q: ควรถวายอาหารรสอร่อยหรือรสธรรมดาแก่พระสงฆ์?
A: การที่เราเอาอาหารไปถวายพระ เพราะเราต้องการบูชา ซึ่งจะละเอียด หยาบ หรือประณีต ขึ้นอยู่กับผู้ที่บูชา
Q: การพูดให้ผิดไปจากโลก?
A: การพูดให้ผิดไปจากโลก คือ ไม่เห็น บอกเห็น ได้ยิน บอกไม่ได้ยิน หากพูดเลี่ยงไปทางอื่น จะไม่เรียกว่าพูดผิดไปจากโลก/จุดสำคัญที่เราไม่ควรมองผิวเผิน คือ ท่านพูดอะไร ท่านทำจิตเค้าให้เบาได้อย่างไร ถึงทำให้ เพชฌฆาตที่จะมาฆ่าท่านบรรลุธรรม
Q: คำพูดของท่านพระภัททิยะที่ว่า “สุขหนอ” นี้เป็นสุขจากอะไร?
A: สุขที่เหนือจากเวทนา เรียงลำดับจาก หยาบไปละเอียด คือ กามสุข สุขที่เกิดจากสมาธิ สุขเวทนาในภายใน วิมุติสุข คือ สุขตั้งแต่สมาธิขึ้นไปดีทั้งหมด ถ้าเราจะเอาสุขที่สูงขึ้นไป ก็เอาวิมุตติสุข ดีที่สุด