00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏกขุดเพชรจากพระไตรปิฎก จิตตคฤหบดี (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12: อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค ข้อที่ 250) ประวัติความเป็นมาและบุพกรรมในชาติก่อน การบรรลุธรรม และความเป็นเอตทัคคะ จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก จิตตคฤหบดีเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ เมื่อวันที่ท่านเกิดมีปรากฏการณ์ประหลาด คือ มีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม จึงได้ชื่อว่า จิตตกุมาร แปลว่า กุมารผู้น่าพิศวงหรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม ก่อนที่จะมานับถือพระพุทธศาสนา จิตตคฤหบดี มีโอกาสพบพระมหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวนชื่อ "อัมพาฏการาม" นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ วันหนึ่งได้แสดงเรื่อง อายตนะ 6 เมื่อจบธรรมเทศนา จิตตคฤหบดีได้บรรลุอนาคามิผล ด้วยความที่เป็นผู้เอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนือง ๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี ความสามารถของท่านในด้านนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก เพราะเป็นผ้มีปัญญาฉลาด มีเหตุผลในการให้คำอธิบายหลักธรรมต่าง ๆ ที่เชื่อกันผิด ๆ ให้กลับเข้าใจในทางที่ถูกต้องได้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าท่านเป็นผู้มีใจบุญได้ถวายทานอันประณีตอย่างมโหฬาร ได้เคยพาบริวาร[...]