ประวัติความเป็นมาและบุพกรรมในชาติก่อน การบรรลุธรรม ความเป็นเอตทัคคะ และต้นบัญญัติสิกขาบท (ถ้ามี) ของ นางกาติยานี นางนกุลมาตา และนางกาฬีกุรรฆริกา  (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12: อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค ข้อที่ 265-267) 

นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง 

นางกาติยานี เป็นชาวกุรรฆรนคร มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ในคืนหนึ่งได้ร่วมฟังธรรมที่พระโสณกุฏิกัณณเถระ (เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ) กำลังแสดงโปรดโยมมารดา ผู้เป็นหญิงสหายของนางชื่อ กาฬี  

ในขณะนั้นที่นางกำลังฟังธรรมอยู่ นางทาสีได้เข้ามาบอกกับนางว่า มีโจรเข้ามาลักทรัพย์ในบ้าน เมื่อฟังคำของทาสี นางกลับกล่าวตอบว่า “นี่แม่คุณ อย่างทำเสียงดังเลย ธรรมดาพวกโจรทั้งหลายเมื่อจะลักขโมยของก็จะเลือกเอาแต่ทรัพย์สินที่ตนเห็นว่ามีประโยชน์มีคุณค่าเท่านั้นส่วนเวลาที่ข้าจะได้ฟังธรรมเหมือนเช่นวันนี้หาได้ยากยิ่งนัก เจ้าอย่าทำลายเวลาฟังธรรมของข้าเลย” เมื่อจบเทศนาของพระเถระแล้ว นางกาติยานีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล 

หัวหน้าโจรที่แฝงตัวอยู่ใกล้ ๆ ได้ยินเช่นนั้น เกิดความเลื่อมใสในนาง สำนึกผิดคืนทรัพย์ให้นางแล้วขอออกบวชพร้อมเหล่าโจร 900 คน 

นางกาฬีกุรรฆริกา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา 

นางกาฬกุรรฆริกา เกิดในเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญวัยแล้วได้ออกเรือนมาอยู่กับสามีที่กุกรรฆรนคร ต่อมานางได้ตั้งครรภ์ รักษาบริหารครรภ์จนครบกำหนดแล้วคิดว่า “การคลอดบุตรในเรือนของบุคคลอื่นนั้น เป็นการไม่สมควร” จึงกลับมายังเรือนบิดามารดาของตนที่กรุงราชคฤห์ 

ในเวลาเที่ยงคืนของคืนหนึ่ง นางกาฬีได้ยินเสียงของพวกสาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์ กล่าวพรรณนาพระคุณของพระรัตนตรัยแล้วเกิดความเลื่อมใสเพียงเพราะได้ยินเสียงสรรเสริญพระคุณของพระรัตนตรัยนั้น จนได้ดำรงอยู่ในดาปัตติผล โดยที่ยังไม่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเลย และต่อมานางได้คลอดบุตรโดยสวัสดี บุตรนั้นคือ พระโสณกุฏิกัณณเถระ และนางกาติยานีคือหญิงสหายของนาง 

นางนกุลมาตา เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา 

นกุลเศรษฐีและภริยา คือ นางนกุลมาตา  พร้อมด้วยเหล่าชาวเมืองสุงสุมารคิรีได้พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระพุทธเจ้า ทันทีที่เศรษฐีและภริยาได้แลเห็นพระพุทธองค์เท่านั้น ความรักประหนึ่งว่าเป็นบุตรของตนก็เกิดขึ้น จึงกราบทูลว่า “ลูกเอ๋ย เจ้าทิ้งพ่อแม่ไปสิ้นกาลช้านาน บัดนี้เจ้าไปอยู่ ณ ที่ใดมา ?” จากอาการกิริยาและคำพูดนี้ สร้างความฉงนสนเท่ห์แก่เหล่าภิกษุและพุทธบริษัทเป็นอันมาก แต่พระองพุทธองค์ก็ทรงมิได้ตรัสห้ามกรือตำหนิสองสามีภรรยานั้นแต่ประการใด ทรงแสดงธรรมตามสมควรแก่อัธยาศัย ยังบุคคลทั้งสองให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ทรงยกเรื่องในอดีตชาติ และกล่าวว่า 

“ในอดีตชาติ เศรษฐีสองสามีภรรยานี้เคยเป็นบิดามารดาของตถาคต ๕๐๐ ชาติ เคยเป็นปู่ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ เคยเป็นลุง เป็นป้า ๕๐๐ ชาติ เคยเป็นอาเป็นน้า ๕๐๐ ชาติ ดังนั้นเพราะความรักความผูกพันที่ติดตามมาตลอดช้านานนี้พอได้เห็นตถาคตจึงสุดที่จะอดกลั้นความรักนั้นไว้ได้” 

และในอีกวาระหนึ่ง ได้ทรงตรัสตอบในเรื่อง เหตุที่ทำให้สามีและภรรยาทั้ง 2 ฝ่ายนั้น ย่อมได้พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า  ได้ฟังตรัสสอนในธรรมะ 8 ประการสำหรับสตรีผู้ครองเรือนที่ทำให้เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกาแก่นางนกุลมาตาด้วย 

“คหบดีและคหปตานี ถ้าสามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย หวังจะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้ง ๒ ฝ่ายพึงมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นย่อมได้พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรมเจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน ทั้ง ๒ ฝ่าย ประพฤติธรรมในโลกนี้ มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก”…ปฐมสมชีวีสูตรที่ ๕  

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร  E09S04 ,


Timeline
[04:40] เรื่องราวของนางกาติยานีอุบาสิกา
[05:50] พระโสณกุฏิกัณณเถระผู้เลิศด้านมีวาจาไพเราะ
[09:58] โจร 900 คนขุดอุโมงค์เพื่อลักทรัพย์
[14:00] เมื่อหัวหน้าโจรสำนึกผิด
[19:14] เรื่องราวของนางกาฬีกุรรฆริกา
[23:40] สาตาคิริยักษ์ผู้ได้ร่วมฟังธรรมจักรกัปปะวัตตะนะสูตร
[30:40] นางกาฬีบรรลุโสดาบันเพียงได้ยินบทสนทนาของยักษ์
[38:55] พระโสณะขอให้มีการบวชได้ด้วยภิกษุเพียง 5 รูป
[42:05] นกุลมาตาผู้เลิศด้านกล่าวคำคุ้นเคย
[45:12] คุณธรรมที่เป็นเหตุให้สามีภรรยาอยู่คู่กันทุกชาติ
[51:22] ธรรม 8 ประการที่ทำให้สตรีถึงความเป็นสหายกับเทวดามนาปกายิกา