ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ บุคคลผู้เป็นเอก ในความเกื้อกูลกับไม่เกื้อกูล มาใน เอกธัมมบาลี ตติยวรรค หมวดที่ 3 ข้อที่ 308-311 (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) 

เปรียบเทียบ “บุคคลผู้เป็นเอก” คือ บุคคลเดียว คนเอก คนหลัก ๆ คนเดียว ในความเกื้อกูล กับ ไม่เกื้อกูล ในที่นี้ ถ้าใครคนใดคนหนึ่ง เขามาชักชวนเราอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรมได้ คน ๆ นั้นมีมิจฉาทิฏฐิ แล้วเขามาชักชวนเรา ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ชักชวนให้กระทำอกุศลกรรมบท การชักชวนของเขานี้ จะเป็นไปเพื่อทุกข์ ไม่เกื้อกูล ไม่ประกอบด้วยประโยชน์แก่เราเป็นอย่างมาก  ถ้าเราทำตามเขา  

แต่ถ้ามีใครสักคนใดคนหนึ่ง มาชักชวนเราให้มีการกระทำ 10 อย่างเหล่านี้ เช่น ชวนเพื่อนทำบุญ, ให้ทาน, มีเมตตากับสัตว์, ช่วยเหลือสังคม, บุญมี บาปมี ความคิดแบบนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ แสดงว่าคนที่มาชักชวนนี้ เขามี สัมมาทิฏฐิ เพราะเขาชักชวนเราไปทำในสิ่งที่ดี ขอแค่คนเดียวที่เขาชักชวนเรา ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ให้กระทำในกุศลกรรมบท 10 ได้ การชักชวนของเขาคนนั้น จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่เทวดา และคนหมู่มาก  

พระพุทธเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า มิจฉาทิฏฐิมีโทษเป็นอย่างยิ่ง และ สัมมาทิฏฐิมีคุณเป็นอย่างมาก โดยได้ยกลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้าเปรียบเทียบกับคำสอนของครูทั้ง 6 ในลัทธิอื่น ขึ้นมาประกอบการอธิบาย 

เอกธัมมบาลี ตติยวรรค หมวดที่ ๓ 

[๓๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คน หมู่มากออกจากสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้น ในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑) 

[๓๐๙] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ใน สัทธรรม บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๒) 

[๓๑๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง (๓) 

[๓๑๑] เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียวที่ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหมือนโมฆบุรุษชื่อว่ามักขลินี้             โมฆบุรุษชื่อมักขลิเกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนลอบที่ดักมนุษย์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมากเปรียบเหมือนบุคคลดักลอบไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่ปลาเป็นอันมาก ฉะนั้น (๔) 

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฎก S01E07 , ใต้ร่มโพธิบท S07E61


Timeline
[07:29] ปสาทกรธัมมวรรค ข้อ 366
[08:31] ธุดงควัตร ข้อ 366-369
[14:18] ธุดงควัตรเพิ่มเติม
[17:25] เหตุแห่งการทำธุดงควัตร
[20:04] ข้อ 5/370 ธรรมกถึก
[22:47] ข้อ 6/371 วินัยธร
[27:16] ข้อ 7/372 พหูสูต
[32:56] ทบทวนกลางรายการ
[54:12] สรุป