ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ สัตว์ที่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย ฯมาใน เอกธัมมบาลี จตุตถวรรค หมวดที่ 4 ข้อที่ 322-365 จบ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต) 

อธิบายเปรียบเทียบ โดยมีอุปมาอุปไมย ในเรื่อง ความน้อย ความมาก ของการที่สัตว์จะกลับมาเกิดสู่มนุษย์ กับ กำเนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์  

คำว่า “กำเนิดอื่นๆ” คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต และอสูรกาย   

สัตว์ที่มีปัญญากับไม่มีปัญญาที่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ได้  

“ปัญญา” ในที่นี้ คือ ปัญญา 5 อย่าง ได้แก่ กัมมัสสกตาปัญญา ฌานปัญญา วิปัสสนาปัญญา มรรคปัญญา และ ผลปัญญา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงจัด ปัญญาญาณไว้ 3 อย่าง ได้แก่ ปัญญาในข้อที่ว่า “รู้ทุกข์ รู้ว่าควรทำอย่างไงกับทุกข์ และ ได้ทำให้เข้าใจในเรื่องทุกข์นั้นแสัตว์ที่เห็นพระตถาคต กับ สัตวที่ไม่เห็นพระตถาคต  

เปรียบเทียบสัตว์ที่เห็นพระตถาคต กับ สัตวที่ไม่เห็นพระตถาคต  

“ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” เพราะฉะนั้น “เห็นธรรม” ในที่นี้ หมายถึง เห็นพระตถาคต นั่นเอง 

เห็นธรรมะในที่นี้ คุณจะต้องมีศรัทธาในชนิดที่หยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และก็มีศีล คือ อย่างน้อยคุณจะต้องเป็นโสดาบัน ไม่ว่าจะขั้นมรรค หรือขั้นผล ก็ตาม”  

เปรียบเทียบ สัตว์ที่จุติ (เคลื่อน, ตาย) จากมนุษย์ไปเกิดในหมู่เทวดา กับ ส่วนสัตว์ ที่ตายจากมนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย 

และสัตว์ที่ตายจากนรก มาเกิดในหมู่มนุษย์ กับ สัตว์ที่ตายจากนรกไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย  

 “สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไปเกิดใน กำเนิดอื่น(นรก, กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน, แดนเปรต และอสูรกาย) นอกจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่า”


Timeline
[04:12] วันมาฆะบูชา
[10:18] เริ่ม จตุตถวรรค
[12:04] 322 – อุปมายกมา น้อย/มาก
[14:09] สัตว์บกน้อย / สัตว์น้ำมาก
[15:58] 323 – มา มนุษย์ น้อย ไป อบาย มาก
[17:50] 324 – มีปัญญา / โง่เขลา
[22:38] 325 – ปัญญาจักษุ / อวิชชา
[23:59] 326 – เห็นตถาคน / ไม่เห็น
[34:08] 333 – บรรลุ / ไม่บรรลุ
[36:10] 334 – ได้รสเลิศ / ไม่ได้
[45:50] 336 – มนุษย์ ไป น้อย / มาก – 338