ในเอพิโสดนี้ เป็นเรื่องของ ผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว ที่มาใน อปรอัจฉราสังฆาตวรรค ข้อที่ 476-478 ว่าด้วยเรื่อง “อนุสติ 10” ในหัวข้อ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต)
ขอทบทวนและเพิ่มเติมเนื้อหาจากเอพิโสดที่แล้วในเรื่องของ “สังฆานุสสติ” ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยได้ขยายความในสังฆคุณ 9 และอธิบายรายละเอียดในแต่ละระดับขั้นของอริยบุคคลที่จะถูกสอบด้วยบททดสอบต่าง ๆ เพื่อให้มีการพัฒนา จนสอบผ่านได้ถึงความเป็นพระอรหันต์ และต่อเนื่องด้วยอนุสติอีก 3 หัวข้อ ได้แก่ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ
“สีลานุสสติ” หมายถึง การระลึกถึงศีลของเรา ในความเป็นปกติ 5 อย่าง คือเป็นศีล 5 นั่นเอง หรือการระลึกถึงศีลของคนอื่นก็ได้ ที่ได้ทำความดีในข้อศีลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การเก็บเงินได้ในแท็กซี่แล้วคืนเจ้าของ เป็นการไม่ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ เป็นต้น
“จาคานุสสติ” หมายถึง การให้ การสละออก พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นผู้ที่มีฝ่ามือชุ่มอยู่เป็นปกติ ยินดีในการให้ ควรแก่การขอ คือ ถ้าเขาขอก็ยินดีที่จะให้ยินดีในการจำแนกแจกทาน จุดประสงค์ของการให้ ก็เพื่อที่จะละ/กำจัดความตระหนี่ และจาคานุสสติ ยังเป็นเรื่องของจิตใจที่ลึกซึ้งลงไป ไม่ใช่แค่ข้าวของภายนอกเท่านั้น แต่รวมถึงกิเลส ความเป็นตัวตนของเรา ที่มันอยู่ในตัวเรา จะละได้ไหม? เราจะให้เมตตาให้เขาได้ไหม? เราจะละกิเลสที่มันอยู่ในจิตใจของเรา คืนโลกไปได้ไหม? ศรัทธา จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญ
“เทวตานุสสติ” หมายถึง การระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้คนเป็นเทวดา คนธรรดาแต่ว่ามีความดี เช่น คความเสียสละของเหล่าบุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัครทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคุณหมอหรือพยาบาล ที่กำลังทำงานกันอย่างขยันขันแข็ง มีความมั่นคงมั่นใจในหน้าที่ มีศีล มีศรัทธากันอยู่ในตอนนี้ ซึ่งเมื่อระลึกถึงบุคคลเหล่านี้แล้ว นี่ก็เป็นเทวตานุสสติ เป็นสติอันเกิดจากการระลึกถึงบุคคลที่มีจิตใจเป็นเทวดา
แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรในพระไตรปิฏก S03E17
Timeline
[04:23] 475-94 สังฆานุสสติ
[41:28] 476-95 เจริญสีลานุสสติ ศีล 5
[44:29] 477- 96 เจริญจาคานุสสติ
[52:12] 478 – 97 เจริญเทวตานุสสติ
[52:43] ดูที่คุณธรรม