ในเอพิโสดนี้ เป็นเนื้อหาที่มาในทุกนิบาตส่วนปลาย (ตติยปัณณาสก์) ใน อายาจนวรรค หมวดว่าด้วยความปรารถนา ได้อธิบายใน 11 ข้อ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม (4 ข้อแรก, 4 ข้อต่อมา และ 3 ข้อที่เหลือ) กล่าวถึง  

[131-134] บุคคลที่มีศรัทธาแล้วจะตั้งความปรารถนาไว้ได้โดยชอบ พึงปรารถนาที่จะเป็นเช่น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ผู้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐาน 

[135-138] เปรียบเทียบ สัตบุรุษ (บัณฑิต) และ อสัตบุรุษ (คนพาล) ซึ่งประกอบด้วยธรรม 2 ประการย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก  

[139-141] เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างของธรรม 2 ประการ ใน 3 ข้อ ได้แก่ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว/ความไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก , โกธะ (ความโกรธ) /  อุปนาหะ (ความผูกโกรธ), กำจัดความโกรธ กำจัดอุปนาหะ  

…ถ้าเราทำความเข้าใจในข้อนี้ไม่ถูก มันจะกลายเป็นศรัทธาแล้วก็งมงาย เป็นศรัทธาหัวเต่า มีแต่อ้อนวอนขอร้อง คิดว่าพอศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ฉันจะต้องรวย ฉันจะต้องถูกหวย และมีคนรัก ก็ปรารถนาสิ่งที่มันเสื่อมไป หิบหายไปเป็นธรรมดาว่า อย่าเสื่อมเลย อย่าเปลี่ยนแปลงไป อย่างนี้เรียกว่า “ปรารถนาแล้วไม่ได้” สิ่งนั้นก็จะเป็นทุกข์ 

*พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 12 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

อ่าน “๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. อายาจนวรรค หมวดว่าด้วยความปรารถนา” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

Timeline
[04:31] อายาจนวรรค หมวดว่าด้วยความปรารถนา
[05:30] [131-134] บุคคลที่มีศรัทธาแล้วจะตั้งความปรารถนาไว้ได้โดยชอบ พึงปรารถนาที่จะเป็นเช่น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ผู้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐาน
[07:02] อย่างไรเรียกว่า ปรารถนาไม่โดยชอบ / ปรารถนาโดยชอบ
[27:48] [135-138] เปรียบเทียบ สัตบุรุษ (บัณฑิต) และ อสัตบุรุษ (คนพาล) ซึ่งประกอบด้วยธรรม 2 ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
[46:45] [139-141] เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างของธรรม 2 ประการ ใน 3 ข้อ ได้แก่ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว/ความไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก , โกธะ (ความโกรธ) /  อุปนาหะ (ความผูกโกรธ), กำจัดความโกรธ กำจัดอุปนาหะ
[52:04] สรุป