อธิบายอานันทวรรค 2 ข้อสุดท้าย คือ คันธชาตสูตรทรงตอบเรื่องศีลที่มีกลิ่นหอมเหนือกลิ่นหอมทั้งปวง จูฬนิกาสูตรเปรียบเทียบให้เห็นถึงความสามารถที่แตกต่างในระดับสาวกกับพระพุทธเจ้า ดั่งนกนางแอ่นกับพญาครุฑ เริ่มสมณวรรคข้อที่ 82 – 87  สมณสูตรกล่าวถึงความเป็นสมณะต้องมีการสมาทานในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา คัทรภสูตรเปรียบคนที่ประกาศตนว่าเป็นภิกษุ แต่ไม่ได้ปฏิบัติในไตรสิกขา ก็เป็นได้เพียงลาในฝูงโค เขตตสูตรเมื่อเป็นสมณะมีหน้าที่ที่ต้องทำในศีล ในจิต ในปัญญา เหมือนการทำกิจของชาวนา วัชชีปุตตสูตรถ้าแม้นรักษาสิกขาบท 150 ไม่ได้ทั้งหมด ให้รักษาอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาก็สามารถเป็นสมณะได้ รักษาได้ก็ละราคะโทสะโมหะได้ ไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล เสกขสูตรกล่าวถึงบุคคลที่ยังต้องศึกษาในศีลจิตปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป สิกขาสูตรที่ 1 จะได้คำตอบว่าทำไมการมีศีลเต็ม มีสมาธิ และปัญญาพอประมาณ แม้ต้องอาบัติเล็กน้อย จึงไม่เป็นไร ยังไม่ตกไปจากทาง


อ่าน “พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๗ หน้า ๒๗๕ – ๓๒๐”


Timeline
[04:29] คันธชาตสูตร ว่าด้วยกลิ่นหอม
[13:30] จูฬนิกาสูตร ว่าด้วยโลกธาตุขนาดเล็ก
[32:22] สมณสูตร ว่าด้วยกิจของสมณะ และคัทรภสูตร ว่าด้วยภิกษุที่ไม่มีไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค
[38:58] เขตตสูตร ว่าด้วยกิจเบื้องต้นที่ควรทำในนา
[41:12] วัชชีปุตตสูตร ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร
[43:50] เสกขสูตร ว่าด้วยเสกขบุคคล
[46:14] สิกขาสูตร ว่าด้วยไตรสิกขาสูตรที่1