ปัญญัตติสูตรเป็นการบัญญัติ 4 สิ่งที่มีความเป็นเลิศในส่วนของตน นั่นคือ พระราหูผู้มีอัตภาพใหญ่สุดในบรรดาสัตว์ พระเจ้ามันธาตุเลิศที่สุดในผู้เสพกาม เพราะสามารถเสพกามที่เป็นทั้งของมนุษย์ และสวรรค์ ทั้งยังไม่มีความอิ่มในกามนั้น มารบุคคลผู้ยิ่งใหญ่เป็นผู้ครองโลก เพราะควบคุมผู้อื่นไว้ด้วยกาม และพระพุทธเจ้าผู้เป็นเลิศในโลก เพราะอยู่เหนือกิเลสได้ ในโสขุมมสูตรกล่าวถึงความละเอียดประณีต ความเชี่ยวชาญในญาณแต่ละขั้น ไล่ไปตั้งแต่รูปภพที่มีกาม อรูปภพที่มีเวทนา และสัญญา และที่ยิ่งขึ้นไปอีก คือแม้แต่สัญญาเวทนาก็ดับไป ยังคงมีแต่สังขาร นั่นคือ สมาธิขั้นสูงสุดนั่นเอง เราจะสามารถพัฒนาให้มีญาณที่ละเอียดลงไปได้ก็ด้วยการเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลายความดับไปของสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นสุขนั้น ถ้าเห็นโทษก็จะข้ามพ้นไปได้ ความละเอียดก็จะมากขึ้น  ในปฐม / ทุติย / ตติยอคติสูตร และภัตตุทเทสกสูตรเป็นเรื่องเกี่ยวกับอคติ 4 ความลำเอียงไม่ว่าด้วย เพราะอะไรย่อมไม่ดี ความดีมันดี ฉันจึงทำดี จึงจะดี ถ้าละอคติ 4 ได้ก็ได้เป็นพระอรหันต์ จบจรวรรค


อ่าน “ปัญญัตติสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “โสขุมมสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ปฐมอคติสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ทุติยอคติสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ตติยอคติสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ภัตตุทเทสกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


Timeline
[05:19] ปัญญัตติสูตร
[23:14] โสขุมมสูตร
[40:07] ปฐม / ทุติย / ตติยอคติสูตร และภัตตุทเทสกสูตร