มุสิกสูตรเปรียบการรู้อริยสัจ 4 กับหนูแล้วก็รู ขุด คือ เล่าเรียนอริยสัจตามตำรา อยู่ คือ รู้อริยสัจปฏิบัติรู้เห็นได้ด้วยตน ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ไม่ขุดแต่อยู่ ไม่เรียนแต่รู้ แสดงให้เห็นว่าในธรรมะนี้การปฏิบัติสำคัญที่สุด ในพลิวัททสูตรเปรียบโคที่ชอบข่มเหง หรือไม่ข่มเหงต่อฝูงของตน หรือฝูงตัวอื่น คือ การทำให้กลุ่มชนหวาดกลัว หรือไม่หวาดกลัวนั่นเอง รุกขสูตรเปรียบคนกับต้นไม้เนื้ออ่อนและแข็ง มีแก่น คือ คนมีศีล ไม่มีแก่น คือ คนกลวงไม่มีศีล เราเป็นคนประเภทไหน และแวดล้อมด้วยไม้ชนิดใด อาสีวิสสูตรเอาประเภทของพิษมาเป็นตัวแบ่ง พิษแล่น คือ ซึมซาบได้เร็วหรือช้า เปรียบดั่งความโกรธง่ายหรือยาก พิษร้าย คือ พิษร้ายมากน้อย เปรียบดั่งความคงอยู่ของความโกรธว่าหายเร็วหรือช้า จบวลาหกวรรค
เริ่มเกสิวรรค เกสิสูตรเปรียบเทียบขั้นตอนของการฝึกม้าจากนายเกสิกับการฝึกสาวกของพระพุทธเจ้ามีขั้นตอนเหมือนกัน ที่น่าสนใจ คือ ม้าหรือบุคคลที่ฝึกไม่ได้มีการฆ่าที่แตกต่างกัน การฆ่าในธรรมวินัยนี้ คือ การไม่บอกสอนหรือเห็นว่าบุคคลนี้ไม่สามารถบอกสอนได้อีกต่อไป ไม่ใช่การหมายเอาชีวิต เพราะการฝึกนี้ไม่ใช้ทั้งอาชญาและศาสตรา ให้ย้อนกลับมาดูว่าเราพัฒนาแก้ปัญหาในกลุ่มคนอย่างไร ใช้ธรรมะล้วน ๆ หรือไม่ และการฆ่าไม่ใช่ไม่บอกสอนตลอดไปแค่พักรอจังหวะ เพราะคนเราเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พระเทวฑัตและพระฉันนะ ให้มีเมตตากรุณาอย่าอุเบกขาอย่างเดียว ชวสูตรคุณสมบัติของม้ากับของภิกษุที่คู่ควร ซื่อตรง คือ ศรัทธา ว่องไว คือ รู้อริยสัจชั้นโสดาบัน อดทนต่อทุกขเวทนา สงบเสงี่ยม คือ มีฌาน 4 ปโตทสูตรม้าดีแต่มีความต่างกันต่อปฏักอยู่ 4 ระดับ คือ เห็นเงา แทงขน แทงผิว แทงกระดูก เปรียบดั่งการได้ยินได้รู้การตายของบุคคลในระดับต่าง ๆ จนถึงการตายของตนเอง นาคสูตรคุณสมบัติช้างที่ดีในหนึ่งตัวมีครบสี่ กับบุคคลที่ถ้ามีครบก็เป็นอริยบุคคล รู้ฟัง: ใครกล่าวธรรมเงี่ยโสตฟัง รู้ประหาร: รู้จักละอกุศล รู้อดทน: อดทนต่อทุกขเวทนา รู้ไป: ไปนิพพาน ทิศที่ไม่เคยไปตลอดกาลอันยาวนาน
อ่าน “มูสิกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “พลิวัททสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “รุกขสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “อาสีวิสสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “เกสิสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “ชวสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “ปโตทสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “นาคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
Timeline
[05:43] มูสิกสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนหนู
[10:55] พลิวัททสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนโคผู้
[16:40] รุกขสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้
[20:29] อาสีวิสสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ
[28:17] เกสิสูตร ว่าด้วยเกสีสารถีผู้ฝึกม้า
[39:34] ชวสูตร ว่าด้วยความว่องไวของม้าต้นและของภิกษุ
[43:01] ปโตทสูตร ว่าด้วยปฏักของสารถี
[51:10] นาคสูตร ว่าด้วยองค์ของช้างต้น