เรื่องราวของ “มัฏฐกุณฑลี” หรือ เด็กชายตุ้มหูเกลี้ยง แม้ตนป่วยหนักอยู่ เพียงได้ทำใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเท่านั้น เมื่อทำกาละแล้ว ก็ไปเกิดในเทวโลก 

ในศาสนานี้พระพุทธเจ้าฝึกคนที่สามารถฝึกได้อย่างที่ไม่มีใครยิ่งกว่า, ความมั่นใจ ไม่เหมือนกับความยึดถือ เพราะความยึดถือเป็นอำนาจของตัณหา, ศรัทธาคือ ความมั่นใจที่มาจากปัญญา เป็นอินทรีย์ทำให้เรารื้อถอนตัวตนออกจากภพได้ 

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ ใจสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับตามความหนักหน่วง เปรียบดังรอยขีดหรือกรีดลงบนน้ำ , รอยขีดรอยกรีดบนแผ่นดิน , รอยขีดบนแผ่นหิน


อ่าน “เรื่องมัฏฐกุณฑลี” อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑

อ่าน “เลขสูตร” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ฟัง “ธรรมบท-เรื่องมัฏฐกุณฑลี” ภาคที่ ๑ เรื่องที่ ๒

ฟัง “มัฏฐกุณฑลี” ออกอากาศทาง FM106 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ฟัง “จิตคือใจ ใจคือจิต” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ฟัง “คำพุทธ – อุปาลิวาทสูตร มโนกรรมมีโทษมากที่สุด (ตอนที่ ๑)” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฟัง “มโนกรรมเป็นกรรมใหญ่” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฟัง “พระจักขุปาลเถระ” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561


Timeline
[04:12] อธิบายเนื้อหาเรื่อง “พระจักขุบาล”
[15:43] เลขสูตร (เล-ขะ-สูตร)
[27:50] ธรรมบทแปลเรื่อง “เด็กชายตุ้มหูเกลี้ยง – มัฏฐกุณฑลี”