00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 2 จิตตวิเวกคนโง่ หากรู้ตัวว่าโง่ ก็ยังพอเป็นคนฉลาดได้บ้าง ส่วนคนโง่ ถ้าสำคัญว่าตนเป้็นคนฉลาดแล้ว นี่หล่ะ มันโง่ ๆ จริง ๆ คำว่า "โง่" คำว่า "ฉลาด" ในที่นี้ ท่านก็ใช้คำว่า "พาลและบัณฑิต" เป็นเรื่องราวของโจรล้วงกระเป๋า หรือโจรผู้ทำลายปมนี้ ที่มาในนิทานธรรมบท อธิบายเรื่องของคนโง่ที่สำคัญว่าตนเป็นคนฉลาด หรือคนโง่สำคัญว่าตนโง่แล้วก็ฉลาดขึ้นมาได้ …เมื่อโจรที่เป็นโสดาบันได้กราบทูลเรื่องการเยาะเย้ยของเพื่อนโจรต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระคาถานี้ว่า “บุคคลใดเป็นคนพาลคือคนโง่ เมื่อรู้ความที่ตนเป็นคนพาลคือโง่แล้ว บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิต คือฉลาด เพราะเหตุนั้นได้บ้าง ส่วนบุคคลใดเป็นคนพาลคือคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต คือเป็นคนฉลาด บุคคลนั้นแหละเราเรียกว่า คนพาลคือคนโง่”