00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- 2 จิตตวิเวกนิโรธ หรือ ทุกขนิโรธ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่กล่าวควบคู่ไปกับเรื่องของมรรค โดยมีความหมายว่า ความดับไม่เหลือของทุกข์ คือ ความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นเทียว เป็นความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความทำให้ไม่มีที่อาศัยของตัณหา หากต้องการให้ตัณหาดับไปได้ จะมีกระบวนการดังนี้ 1. ต้องปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด โดยการพัฒนาเรื่องมรรค ทำให้มาก เจริญ (ภาวิตา) หรือพัฒนาให้มาก ซึ่งคำว่า “รู้” หมายถึง การระลึกรู้ นั่นคือการตั้งสติขึ้น ทำให้มีสมาธิและปัญญาเกิดตามมา รอบรู้เรื่องทุกข์ ซึ่งคำว่า “กำหนดรู้” หมายถึง การทำความเข้าใจ ยอมรับและเห็นตามความจริงของทุกข์เหล่านั้น 2. สิ่งที่เกิดตามมาทันทีคือ นิโรธ (ความดับ) ซึ่งเกิดจากการปล่อยวาง เป็นผลที่เกิดขึ้นเองจากการทำให้แจ้งหรือเรียกว่า “สัจจิกต” เช่น การเปิดไฟทำให้ความมืดหายไปและความสว่างเกิดขึ้นทันที การวางของหนักทำให้ความหนักหายไปและความเบาเกิดขึ้นทันที หรือการคิด พูด ทำในสิ่งดีทำให้ความดีเกิดขึ้นและความชั่วดับไปทันที เป็นต้น หากยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในความหมายของ “ดูอย่างเดียวหรือรู้อย่างเดียว แล้วจะทำให้เกิดเองนั้น” โดยความเป็นจริงแล้วก็คือ นิโรธเกิดขึ้นนั่นเอง ซึ่งจะสามารถเกิดขึ้น แจ้งขึ้นได้เองจากเหตุปัจจัยที่ถูกต้องในมรรค โดยการทำกิจที่ควรทำในทุกข์ (คือการรอบรู้เรื่องทุกข์)[...]