ในเอพิโสดนี้ เปิดประเด็นด้วยเรื่อง เมื่อผู้กระทำความผิดขอให้ผู้ที่ถูกตนทำร้ายหรือเจ้าทุกข์ได้อโหสิกรรมให้ ในที่นี้จึงต้องทำเข้าใจ โดยต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน ระหว่าง ส่วนที่กระทำไปแล้ว (อโหสิกรรม) และ ผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเข้าใจว่าเมื่อกระทำกรรมอะไรไว้ จะต้องได้รับกรรมนั้น ๆ ความเข้าใจนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ถูก แต่เมื่อบุคคลกระทำกรรมอะไรไว้ เขาจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น ความเข้าใจนี้ถูกต้อง 

ใครจะทำอะไรมา ให้เราเป็นผู้ที่ไม่ผูกเวร แต่ถ้าเขาจะมาผูกเวร นั่นเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ถ้าคิดว่าคนนั้นคนนี้ได้ทำเรา คิดอยู่อย่างนี้ต้องผูกเวรกันแน่นอน ไม่มีทางที่ละเวรอันนั้นได้

จะตัดความโกรธความผูกโกรธได้ อย่าไปคิดว่าเขาทำเราก่อน แต่ให้คิดว่า “นี้เป็นโทษของวัฏฏะ เป็นโทษของสังสารวัฏ” เพราะคุณอยู่ในโลก บางทีมันจะต้องมีการกระทบกันบ้าง หรือคิดว่า “อย่าเห็นแก่สั้น อย่าเห็นแก่ยาว เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร” จุดนี้จะสามารถตัดละการที่ผูกเวรกับคนอื่นได้ 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นในเรื่องอื่น ๆ
การครองเรือน ที่จะมีทุกข์เพราะถูกบีบคั้นด้วยกาม เราจึงต้องทำหน้าที่ในทิศทั้ง 6 ให้ถูกต้องในการดำเนินชีวิต เพื่อทิศนั้นจะไม่เป็นภัย และวิธีการปล่อยวาง
การเจ็บไข้  เป็นภัยที่พ่อแม่ลูกช่วยกันไม่ได้ ประเด็นในที่นี้อยู่ที่ เมื่อมีความเจ็บไข้แล้วจะยอมรับได้อย่างไร  และความกังวล vs ความรักความเมตตา
เกี่ยวกับวาจา การมีสัมมาวาจา เราควรจะคุมวจีทวารให้ได้ ถึงแม้มโนจะคุมไม่ได้ และเมื่อจะกล่าวก็กล่าวอย่างรู้กาละที่เหมาะสม

แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: นิทานพรรณนา S02E12 , สมการชชีวิต S01E20 , #สามเณรตาแตก , #ทีฆาวุ-ผู้ไม่เห็นแก่ยาวไม่เห็นแก่สั้น , #เมื่อถูกบีบคั้นเพราะกาม , #ผาสุกได้เมื่อ 5 ภัยมา , #วาจาที่ควรกล่าว    

#2006-1u0217