Q: เมื่อมีจิตฟุ้งซ่านไปในเรื่องอกุศล และไปผูกติดในสิ่งนั้นๆ ด้วย จะมีวิธีแก้ไขจิตอย่างไร?

A: ให้เราเรียกสติของเรากลับมา ด้วยการ ใช้คำว่า พุทโธ คือ “พุทธานุสติ”, พิจารณาในความเป็นปฏิกูล คือ “กายคตาสติ”, สอบถามผู้รู้, พิจารณาเห็นโทษของสิ่งที่เป็นอกุศล สวดมนต์ หรือข่มจิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต แล้วอย่าตามภาพหรือเสียงนั้นไป เพราะอาจจะวิปลาสภาพ วิปลาสเสียงได้ อย่างไรก็ดี เมื่อเราเห็นว่าจิตของเราเป็นอย่างไร เราจะแก้ไขได้แน่นอน

Q: ที่ทำงานยุงชุกชุมมากควรจัดการอย่างไรดีจึงจะเป็นการไม่บาป?

A: ทำจิตให้มีความเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนกัน หากเราไม่พอใจ จะเป็นบาป ให้หาวิธีป้องกันก่อนที่จะไปทำงาน เช่น ทายากันยุง จะช่วยได้

Q: ช่วยขยายความประโยคที่ว่า “เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษ ฯ”?

A: ท่านแสดงธรรมให้ นักกายกรรม ชื่อ “อุคคเสน” เห็นโทษของการยึดถือ ในขันธ์ 5 ในที่นี้ ขันธ์ 5 คือ ยึดถือความสามารถในการแสดง ธรรมเครื่องปรุงแต่งทั้งหลาย คือ ขันธ์ 5 “สังขตธรรม” ลักษณะธรรมะที่มีการปรุงแต่ง คือ มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏและถ้าเมื่อตั้งอยู่ก็จะมีภาวะอย่างอื่นปรากฏ ซึ่ง ทางที่จะไปถึงการไม่ปรุงแต่ง มีแค่ “มรรค” เท่านั้น พอเราปฏิบัติตาม ธรรมปรุงแต่ง ก็จะทำให้ถึงความสิ้นทุกข์ ไม่เกิด ไม่แก่ ถึงนิพพาน ถึงฝั่งแห่งภพ 


Timeline

[00:45] เมื่อมีจิตฟุ้งซ่านไปในเรื่องอกุศล และไปผูกติดในสิ่งนั้นๆ ด้วย จะมีวิธีแก้ไขจิตอย่างไร
[16:23] ที่ทำงานยุ่งชุกชุมมากควรจัดการอย่างไรดีจึงจะเป็นการไม่บาป
[24:46] ช่วยขยายความประโยคที่ว่า “เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษฯ”