กัลยาณมิตร VS ปาปมิตร
“กัลยาณมิตร” มี 4 ลักษณะ
1. มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ คอยเตือนเรารักษาเราเมื่อประมาทประพฤติไม่ดี คอยรักษาทรัพย์ให้เราเมื่อเราประมาท เมื่อมีภัยจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ ในยามมีเหตุจำเป็นเดือดร้อนต่าง ๆ ยิ่งเป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้
2. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้
3. มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้
4. มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน
“ปาปมิตร” มี 4 ลักษณะ
1. ปอกลอก = คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสียให้นิดเดียว แต่เวลาจะเอา เอามาก ไม่ช่วยงาน
2. ดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึงจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง
3. คนหัวประจบ = จะทำดี ก็คล้อยตาม จะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา
4. ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนให้ไปเที่ยวตามครอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนให้ไปดูมหรสพ ชวนให้เล่นการพนัน
Q1: เพื่อนร่วมงานที่ถือความคิดตนเป็นใหญ่
A: ให้เราทำตัวเป็นมิตรแนะประโยชน์ 1. ไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง 2. แนะนำให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3. ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา เขาก็จะมีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง
– หากเราไม่ได้ต้องการเกี่ยวข้องกับเขามาก ก็ต่างคนต่างอยู่ก็ได้ เพราะเขาไม่ได้เป็นคนไม่ดี
– ทั้งนี้ การนำธรรมะเข้าสู่องค์กร จะทำให้พฤติกรรมและทัศนคติของคนในองค์กรมีศีล สมาธิ ปัญญา มีจิตใจที่นุ่มนวลลง เป็นวิธีที่เอาชนะได้อย่างถาวร
Q2: ลูกน้องขาดงานบ่อย
A: ให้พูดคุยสอบถามลูกน้องว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่
– เจ้านายมีหน้าที่ คือ ให้ลูกน้องทำงานตามกำลัง หากประสิทธิภาพในการทำงานของลูกน้องลดลง ก็ต้องปรับให้เขาทำงานในสิ่งที่เขาทำได้ ทำงานลดลงตามความสามารถ และให้เงินเดือนลดลงตามความสามารถนั้น
Q3: ลูกน้องไม่ทำตามหน้าที่
A: ให้ลูกน้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน และปรับงานของลูกน้องไม่ให้กระทบกระเทือนกับคนอื่น หรือให้ลูกน้องออกจากงาน
– การฝึกสมาธิจะทำให้คนที่มีจิตใจที่แข็งกระด้าง มีจิตใจนุ่มนวลอ่อนลงได้ บางบริษัทจึงจัดให้มีการฝึกสมาธิปีละครั้ง หรือมีการจัดกิจกรรมฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
Q4: ลูกน้องมีปัญหาส่วนตัวกระทบกับงาน
A: ให้พิจารณาก่อนว่าพื้นฐานจิตใจของลูกน้องเป็นคนดีหรือไม่ (เทวดา, พรหมโลก, สัตว์นรก) เกิดมามืดหรือสว่าง เราจะเป็นมิตรมีอุปการะให้เขาไปทางดีหรือไม่ เป็นที่พึ่งให้เขาได้หรือไม่
– สามารถอุปการะเขาได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ = ทางใจให้ได้ไม่มีประมาณ ไม่มีหมด “กรุณา” ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ “อุเบกขา” ไม่ให้จิตเราหวั่นไหวไปกับสิ่งที่ไม่ดีนั้น, มีปิยวาจา พูดดีด้วย หรือแบ่งจ่ายทรัพย์ของเราไว้ช่วยเหลือคนอื่น
Q5: คนชอบนินทา
A: แม้ไม่ได้พูดโกหกหรือคำหยาบ แต่ถ้ามีเจตนาพูดยุยงให้เขาแตกกัน ถ้าทำมาก ๆ โทษหนัก ก็จะไปตกนรก โทษเบา ก็จะทำให้เป็นคนที่แตกจากมิตร ไม่มีใครคบด้วย เราอย่าไปแช่งเขาเพราะโทษจะเกิดกับเราเอง อย่าไปนินทาตอบ ให้เราอดทน ให้เอาชนะคำไม่จริงด้วยคำจริง เอาชนะคำนินทาลับหลัง ด้วยการพูดอ่อนโยน จะเป็นการเอาชนะได้อย่างยั่งยืน
Q6: เด็กฝากในที่ทำงาน
A: อย่ามีอคติกับเขา บาปกรรมจะให้ผลกับเราได้ ควรรักษาความดีของเราไว้ แนะนำเด็กฝากในทางที่ดี ให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีได้
Tstamp
[01:35] กัลยาณมิตร VS ปาปมิตร
[08:35] เพื่อนร่วมงานที่ถือความคิดตนเป็นใหญ่
[14:58] ลูกน้องขาดงานบ่อย
[17:45] ลูกน้องไม่ทำตามหน้าที่
[31:10] ปัญหาส่วนตัวกระทบกับงาน
[41:25] คนชอบนินทา
[46:40] เด็กฝากในที่ทำงาน