Q1: การจำพรรษาของพระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา
A: พระสงฆ์ต้องอยู่เป็นที่ในช่วงฤดูฝน 3 เดือน, อยู่ในบริเวณเนื้อที่ที่กำหนดเอาไว้ เช่น กำแพงวัด, สามารถเดินทางออกนอกบริเวณได้ แต่ต้องกลับมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในวันรุ่งขึ้น, เว้นแต่ เดินทางไปด้วยธุระจำเป็น สามารถไปได้ไม่เกิน 7 วัน
– อาจเปลี่ยนที่จำพรรษาได้ แม้พรรษาขาดแต่ไม่เป็นอาบัติถ้าเข้า 6 กรณี
– ถ้าพระสงฆ์ไม่แสวงหาที่จำพรรษาในช่วงเข้าพรรษา จะเป็นอาบัติ
– อานิสงส์ของการจำพรรษา เช่น สามารถเที่ยวจาริกไปได้โดยไม่ต้องบอกลา, รับกฐินได้
– ระหว่างจำพรรษา พระสงฆ์จะมีการทำความเพียรเพิ่มขึ้นมา เช่น สวดมนต์ นั่งสมาธิ เพิ่มขึ้น
– จึงชักชวนท่านผู้ฟัง ให้มีข้อปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อเร่งทำความเพียรในช่วงเข้าพรรษานี้ เช่น งดเหล้า ฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมากขึ้น
Q2: ในช่วงจำพรรษา พระสงฆ์อยู่กุฏิเดียวกันได้หรือไม่
A: อยู่ในกุฏิเดียวกัน 2-3 รูปได้ แต่ต้องระวังเรื่องการรักษาผ้าครอง (ผ้าสำรับ 3 ผืน ที่ได้มาในวันบวช ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ) ที่จะต้องรักษาเอาไว้ในช่วงที่จะได้อรุณ คือ ตี4 ถึง 6 โมงเช้า ผ้า 3 ผืนนั้นต้องอยู่ใกล้ตัวที่มือเอื้อมถึง
– สมัยก่อนผ้าหายาก สมัยนี้หาง่ายแต่ยังมีการปฏิบัติข้อนี้กันอยู่ เพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อพระวินัยให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานและเป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ
Q3: สวดมนต์เพื่ออะไร
A: การสวดมนต์ คือ การสาธยาย (สัชฌายะ) ท่องให้เหมือนต้นฉบับ, นำคำของพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสไว้ มาพูดซ้ำ (Recitation) ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง (Pray)
– การสวดมนต์ (สัชฌายะ) มีประโยชน์ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน แม้ไม่รู้ความหมายก็ตาม แต่ถ้าเข้าใจความหมาย แล้วเอามาตรึกตรอง พิจารณา ปฏิบัติตาม ก็จะเกิดผลทำให้จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ ได้ลิ้มรสของธรรมะด้วยตนเอง
Q4: คนรุ่นใหม่บางกลุ่มไม่นับถือศาสนา แต่ยังยึดเรื่องการทำความดี ละเว้นความชั่ว
A: คำว่า “ศาสนา” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง “คำสอน” ให้เอาเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ให้ยึดเป็นของตน (อุปาทาน) เช่น เอาการทำความดีตามศีล 5 เป็นที่พึ่ง
– ประเพณี รูปแบบ พิธีกรรม เพิ่งเกิดขึ้นในภายหลัง หากทำความดีตามศีล 5 ได้ ชาตินี้ไปดีแน่นอน ตัวเราหรือคนอื่น ติเตียนเราไม่ได้ เกิดความสบายใจ แต่ถ้าไม่รักษาศีล 5 จะมีโทษ คือ ตนเบียดเบียนตนเอง คนอื่นติเตียน ถูกลงโทษ ตายแล้วตกนรก ชาติหน้าไปไม่ดี
Q5: พระสงฆ์ออกกำลังกายด้วยการยกดัมเบลแทนการเดินจงกรมได้หรือไม่
A: พระวินัย ให้การเดินเป็นการออกกำลังกาย หลังการกิน ให้คลายความเมาในอาหารด้วยการเดิน
– ในสมัยโบราณแนวคิดเรื่องการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพดียังไม่มี แต่อาจนำเอาพระวินัยมาปรับได้ว่า หากมีญาติโยมปวารณาเครื่องออกกำลังกายนั้นไว้ พระสงฆ์ได้เครื่องออกกำลังกายมาก็ไม่ผิด, การออกกำลังกายเพื่อต้องการให้ร่างกายสวยงาม อันนี้ไม่ถูก, แต่การออกกำลังกายเพื่อคลายเวทนาของร่างกาย ไม่ให้ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันนี้ทำได้, และขณะออกกำลังกาย ต้องมีสติสัมปชัญญะ เพื่อไม่ให้เพลิดเพลิน ลุ่มหลงไปกับการอิริยาบทที่กำลังทำอยู่
Q6: การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล บาปหรือไม่
A: การเล่นการพนัน เป็นอบายมุข ทำให้เมา เพลิน จึงไม่ควรเล่นการพนัน
– การเล่นพนัน แม้ไม่ผิดศีล แต่เป็นที่ตั้งของความประมาท เช่น ทำให้เป็นหนี้สิน ตามมาด้วยการโกหก ขโมยของ อกุศลธรรมหลายอย่างจะตามมา
– การเล่นหวย เป็นการพนัน (อบายมุข) แต่ที่รัฐต้องทำสลากกินแบ่งรัฐบาลมาขาย ไว้สำหรับคนที่ยังเลิกไม่ได้ ผู้ที่ยังมีความเพลินอยู่ หากรัฐไม่ขายก็จะไปซื้อหวยใต้ดินกันอยู่ดี จึงเอาบางส่วนขึ้นมาทำให้ถูกกฎหมาย แล้วเอารายได้นั้นมาแบ่งปันให้สังคม
Q7: สมาทานศีลแล้ว แต่เผลอทำผิดศีล เป็นบาปมากกว่าเดิมหรือไม่
A: เป็นบาปน้อยกว่าการไม่สมาทานศีลแล้วทำผิดศีลด้วยความจงใจ เพราะการสมาทานศีล คือ การตั้งเจตนาว่าจะรักษาศีล 5 ให้ตนเองมีสติสัมปชัญญะ, ช่วงที่รักษาศีลได้ เป็นบุญ แต่ช่วงที่เผลอเพลิน ขาดสติสัมปชัญญะ ทำผิดศีล เป็นบาป
– การผิดศีลทำให้เกิดความร้อนใจ ความรู้สึกผิดนี้เป็นหิริโอตัปปะ ละอายในบาปที่ทำลงไป การร้อนใจตอนนี้ ยังดีกว่าร้อนใจในภายหลัง และดีกว่าทำชั่วแล้วไม่ร้อนใจอะไรเลย
Tstamp
[01:10] การจำพรรษาในช่วงเข้าพรรษา
[09:18] พระสงฆ์อยู่กุฏิเดียวกัน
[14:10] สวดมนต์เพื่ออะไร
[24:50] การไม่นับถือศาสนา
[39:30] พระสงฆ์ออกกำลังกาย
[44:35] ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล บาปหรือไม่
[51:55] สมาทานศีลแล้ว แต่ทำผิดศีล