ลิจฉวิกุมารกสูตร ปรารภเจ้าลิจฉวี เป็นลักษณะการใช้จ่ายทรัพย์ที่ทำให้เกิดความเจริญในชีวิตไม่มีเสื่อมเลย 5 ข้อนี้เป็นการแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 นัยยะ 

ใน ปฐมและทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร เป็นเรื่องของพระบวชเมื่อแก่ ที่มักเรียกว่า “หลวงตา” ที่สำคัญคืออย่าไปเหมารวมว่าไม่ดีหมด ไม่ใช่ แต่ให้มองว่าถ้ามีคุณลักษณะที่ดี 2 นัยยะ นัยยะละ 5 ข้อนี้แล้ว ก็จะสามารถเป็นบุคคลที่ประเสริฐได้ 

ใน ปฐมและทุติยสัญญาสูตร หมวดว่าด้วยสัญญา สัญญา หมายถึง ความหมายรู้ กำหนดรู้ขึ้น สัญญาไม่ใช่เหมือนกันหมด บางสัญญาก็จะเป็นไปเพื่อความมีกิเลสมาก ขณะเดียวกันสัญญาบางอย่างก็ลดกิเลสได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่ทำให้กิเลสเพิ่มหรือกิเลสลด ต่างก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมรรคกับทุกข์เหมือนกันตรงความไม่เที่ยง ต่างกันตรงหน้าที่ มรรคทำให้มาก ทุกข์ให้เข้าใจ สัญญา 5 ประการได้แก่ 

  1. อนิจจสัญญา กำหนดหมายว่ามันไม่เที่ยง ขึ้นอยู่กับเหตุเงื่อนไขปัจจัยไม่ได้อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง เพื่อลดความมัวเมาในอัตตาตัวตน 
  2. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งทั้งปวง ทุกสิ่งล้วนมีเหตุมีปัจจัย ไม่ได้เป็นอัตตา (อาศัยเหตุปัจจัยไม่ได้เป็นตัวตนของมันเอง) ละอุปาทานในความเป็นตัวฉัน ความเป็นของฉัน และความเป็นตัวตนของฉัน เพื่อลดความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นของเรา
  3. มรณสัญญา การกำหนดหมายว่าสิ่งต่าง ๆ มีความตายเป็นธรรมดา เป็นการลดความมัวเมาในชีวิต
  4. อาหาเรปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายในความไม่น่าดู เพื่อรู้ประมาณในการบริโภค รู้เวทนา เป็นไปเพื่ออานิสงส์ใหญ่ 
  5. สัพพโลเกอนภิรติสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย แต่มองตามความเป็นจริง เป็นธรรมดา มองผ่านสติ 


สัญญา 5 ประการนี้เป็นทางแห่งมรรค ที่เมื่อเจริญแล้ว จะทำความเป็นอมตะให้เกิดขึ้นได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต นีวรณวรรค สัญญาวรรค


Tstamp

[04:13] ข้อที่ 58 ลิจฉวิกุมารกสูตร ว่าด้วยเจ้าลิจฉวีกุมาร
[16:35] ข้อที่ 59 ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ สูตรที่ 1
[18-27] ข้อที่ 60 ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ สูตรที่ 2
[22:26] ข้อที่ 61-62 ปฐม – ทุติยสัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ 1 – 2
[30:33] อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
[33:41] อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
[40:08] มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
[44:00] อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
[47:35] สัพพโลเก อนภิรติสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)