สูตร#1 จูฬตัณหาสังขยสูตร ทรงแสดงแก่ท้าวสักกะ ณ บุพพาราม กรุงสาวัตถี เพื่อตอบปัญหาของท้าวสักกะ ที่ได้ทูลถามว่า กล่าวโดยย่อ ข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า ผู้หลุดพ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตรัสตอบและอธิบายถึงข้อปฏิบัติ ที่ว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น “ ท้าวสักกะชื่นชมพระภาษิตและทูลลากลับ

ขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งฟังอยู่ไม่ไกล คิดว่า ท้าวสักกะจะไม่เข้าใจจริง จึงตามไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องความสิ้นตัณหาโดยย่อว่าอย่างไร ท้าวสักกะไม่ตอบ แต่ชวนไปชมเวชยันตปราสาท พระเถระจึงสำแดงฤทธิ์ให้เวชยันตปราสาทสั่นสะเทือน จึงยอมบอกตามที่ทรงได้ฟังมา พระเถระได้กลับมารายงานให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงยืนยันว่าได้ตรัสอย่างนั้นจริง

สูตร#2 มหาตัณหาสังขยสูตร (ข้อ396-403) ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน โดยทรงปรารภความเห็นผิดของภิกษุชื่อสาติ ผู้เป็นบุตรชาวประมง ซึ่งมีความเห็นว่า “ วิญญาณนี้แลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป” ซึ่งเป็นทิฏฐิที่ชั่ว แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า วิญญาณอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ถ้าไม่มีปัจจัย วิญญาณก็เกิดไม่ได้ แต่ภิกษุสาติไม่เชื่อ จึงทรงอาศัยเหตุนี้ กำราบท่านสาติ และสอบสวนความเข้าใจของภิกษุทั้งหลายในเรื่องนี้เพื่อสอนพระสาติ ทรงกล่าวถึง ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ,ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งขันธ์ 5 ,ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด (ยังมีต่อ)

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

อ่าน “จูฬตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยความสิ้นตัณหา สูตรเล็ก [๓๙๐]”

อ่าน “มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยความสิ้นตัณหา สูตรใหญ่ [๓๙๖]”


Tstamp

[03:58] จูฬตัณหาสังขยสูตร
[04:01] ท้าวสักกะถามปัญหา
[08:47] พระมหาโมคคัลลานะทดสอบท้าวสักกะ
[27:40] มหาตัณหาสังขยสูตร