มหาสัจจกสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่สัจจกะ นิครนถบุตร เป็นการสนทนาแบบถาม-ตอบ ในเรื่องของกายภาวนา และจิตตภาวนา ซึ่งนิครนถ์มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า กายภาวนานั้น หมายถึง การทำทุกรกิริยา และไม่เข้าใจเรื่องจิตตภาวนา จึงทรงอธิบายการเจริญภาวนาทั้ง 2 อย่าง ที่ถ้าเราทำได้แล้ว จะอยู่เหนือสุขและทุกข์ได้ แต่สัจจกนิครนถ์ ที่มีความสงสัยไม่ลงใจ พยายามที่จะคิดโต้แย้ง และกล่าวกระทบกระเทียบพระผู้มีพระภาค จึงทรงเล่าพุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ ในสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส แม้ได้สุขของสมาธิขั้นลึกซึ้ง แต่ก็ไม่เผลอเพลินไปตามสุขเวทนานั้น และเมื่อบำเพ็ญทุกกรกิริยา ได้รับทุกขเวทนาอันหนักหน่วง แต่ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำจิตของพระองค์ได้ ทำให้สัจจกนิครนถ์มีความศรัทธา กล่าวสรรเสริญ และชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

อ่าน “มหาสัจจกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


Tstamp

[5:05] ปัญหาของสัจจกะ นิครนถบุตร
[10:44] กายภาวนาและจิตตภาวนา
[31:53] การบำเพ็ญทุกกรกิริยา
[46:09] ฌาน 4 และวิชชา 3
[51:24] บุคคลผู้ไม่หลง