Q: เป็นคนชอบคิดมาก ควรแก้ไขอย่างไร?

A : ความคิดแยกเป็น 2 นัยยะ นัยยะแรกคือคิดเยอะ เช่น คิดด้านการงาน มีไอเดียในการคิดทำสิ่งต่าง ๆ ส่วนนัยยะที่สองคือคิดมาก เช่น ย้ำคิดย้ำทำ คิดปรุงแต่งมากเกินไป หดหู่ น้อยเนื้อต่ำใจ คิดวนลูป ไปในแนวอกุศล ซึ่งพอคิดมาก ๆ เข้า อาจจะเป็นซึมเศร้าได้ ซึ่งทั้งสองนัยยะนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ คิดมากเหมือนกัน วิธีแก้จึงเหมือนกัน คือ ให้เราตั้งสติ แยกจิตออกจากความคิดให้ได้ ท่านบอกว่า “หู ตา จมูก ลิ้น กาย มีใจเป็นที่แล่นไปสู่” เพราะฉะนั้น ทางใจจึงต้องมีสติเป็นตัวจัดระเบียบ เราจะเพิ่มพลังสติได้ ต้องใช้เครื่องมือ คือ “อนุสติ 10” เพื่อให้สติเรามีกำลัง เมื่อสติมีกำลัง

จิตเราจะสามารถแยกออกจากความคิดได้ จิต ใจ ความคิด เป็นคนละอย่างกัน แม้ความคิดจะมีมา มันก็จะไม่เนื่องกัน เปรียบดังน้ำกลิ้งบนใบบัว ความคิดนั้นมันจะมาสะเทือนจิตเราไม่ได้ คือ มีความคิดนั้นอยู่ แต่มันไม่เข้าถึงใจ คือไม่สะเทือนจิต

Q: สติ สมาธิ ความสงบ สัมพันธ์กันอย่างไร?

A : สติ สมาธิ ความสงบ เป็นนามธาตุที่เกิดขึ้นในช่องทางใจ / สติ หมายถึงการระลึกรู้ได้ในนามธาตุต่าง ๆ หรือระลึกรู้ได้ในนิวรณ์ 5 สติจะทำให้นิวรณ์ 5 อ่อนกำลัง เมื่ออ่อนกำลังแล้วจะทำให้เกิดความสงบเกิดขึ้นได้ (สมถะ) สติจะเกิดขึ้นก่อนสมาธิเสมอ สัมมาสติจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ สมาธิในความหมายที่ท่านทรงกำหนดไว้ จะประกอบด้วยสมถะ (ความสงบ) และ วิปัสสนา (การใคร่ครวญ ให้เกิดรู้แจ้งในสังขารทั้งหลาย)

Q: การวางเฉยต่างจากการไม่ใส่ใจอย่างไร?

A : แตกต่างกันตรงที่ปัญญา ความไม่ใส่ใจ จะมีโมหะเป็นตัวครอบงำอยู่ แต่อุเบกขา จิตจะประกอบด้วยปัญญา มีความ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

Q: การนั่งสมาธิโดยกำหนดอานาปานสติแล้วใคร่ครวญธรรมะไปด้วย ปฏิบัติแบบนี้ถูกหรือไม่?

A : ไม่ผิด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีการสอดรับลงรับกันทั้งหมด อนุสติ 10 จึงเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้น

Q: ขณะภาวนาเกิดจิตฟุ้งซ่าน ควรหยุดการปรุงแต่งความคิดหรือปล่อยความคิดไปตามธรรมชาติ?

A: เมื่อสติมีกำลังจะทำให้เกิด สมาธิ สมาธิประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา หากวิปัสสนาเกินกำลังของสมถะจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน และหากสมถะเกินกำลังของวิปัสสนา จะทำให้เกิดความเหนื่อยอ่อนเกียจคร้าน


Tstamp

[04:46] Q1: เป็นคนคิดมาก ควรแก้ไขอย่างไร?
[26:39] Q2: สติ สมาธิ ความสงบ สัมพันธ์กันอย่างไร?
[32:17] Q3: การวางเฉยต่างจากการไม่ใส่ใจอย่างไร?
[36:08] Q4: นั่งสมาธิโดยกำหนดอานาปานสติ แล้วใคร่ครวญธรรมะไปด้วย ปฏิบัติแบบนี้ถูกหรือไม่?
[41:31] Q5: ขณะภาวนาเกิดจิตฟุ้งซ่าน ควรหยุดการปรุงแต่งความคิดหรือปล่อยความคิดไปตามธรรมชาติ