สูตร1 # จูฬธัมมสมาทานสูตร [468] ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่าการสมาทานธรรมมี 4 ประการ หมายถึงการนำธรรมมาปฏิบัติ ซึ่งทรงอธิบายการสมาทานธรรม 4 ประการ โดยละเอียด และยกอุปมาโวหารประกอบ ทรงถือเอาความทุกข์และความสุขในขณะปฏิบัติ กับความทุกข์และความสุขที่เป็นผลแห่งการปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ ที่สูงสุดคือความสุขในสุคติโลกสวรรค์

สูตร2 # มหาธัมมสมาทานสูตร [473] ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ตรัสไว้ว่าคนส่วนมากต้องการให้สิ่งที่ไม่พึงประสงค์เสื่อมสิ้นไป ต้องการให้สิ่งที่พึงประสงค์เจริญพอกพูน ทั้งที่หวังไว้อย่างนั้นแต่กลับไม่สมหวัง สิ่งที่ไม่ต้องการกลับเจริญพอกพูน สิ่งที่ต้องการกลับไม่มี ได้ทรงอธิบายโดยยกการสมาทานธรรม 4 ประการ ดังที่แสดงไว้ในจูฬธัมมสมาทานสูตร แต่ทรงแยกอธิบาย คือบุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรมตามความเป็นจริง ชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา ทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป แต่ถ้ารู้การสมาทานธรรมตามเป็นจริง ชื่อว่ามีวิชชา ก็จะเป็นเหตุให้รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ทำให้ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น และทรงอธิบายการสมาทานธรรมโดยการปฏิบัติธรรมที่เป็นอกุศลกรรมบท 10 และกุศลกรรมบท 10 หลังจากตายจะได้รับผลเป็นทุคติและสุคติ และทรงยกอุปมาของการสมาทานธรรม 4 ประการ

อ่าน “จูฬธัมมสมาทานสูตร ว่าด้วยการสมาทานธรรม สูตรเล็ก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

อ่าน “มหาธัมมสมาทานสูตร ว่าด้วยการสมาทานธรรม สูตรใหญ่ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


Tstamp

[05:49] ว่าด้วยการสมาทานธรรมสูตรเล็ก จูฬธัมมสมาทานสูตร
[07:36] การสมาทานธรรมที่มีทุกข์และมีทุกข์เป็นวิบาก
[15:59] การสมาทานธรรมที่มีสุขแต่มีทุกข์เป็นวิบาก
[20:09] การสมาทานธรรมที่มีทุกข์แต่มีสุขเป็นวิบาก
[21:23] การสมาทานธรรมที่มีสุขและมีสุขเป็นวิบาก
[24:31] ว่าด้วยการสมาทานธรรมสูตรใหญ่ มหาธัมมสมาทานสูตร
[50:13] อุปมาของการสมาทานธรรม 4 ประการ