มุณฑราชวรรค หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช เริ่มด้วยข้อที่ 42 สัปปุริสสูตร เพราะมีความเกี่ยวเนื่องด้วยข้อที่ 40 ไส้ในเหมือนกัน หัวข้อและอุปมาต่างกัน ในข้อที่ 42 นี้คือ คนดีเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คนดีดูได้ที่ ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ท่านอุปมาเฆฆฝนที่ตั้งขึ้นย่อมมีคุณต่อชาวนาในการเพาะปลูก

ข้อที่ 41 อาทิยสูตร บุคคลที่มีโภคทรัพย์แล้ว ควรถือประโยชน์จากทรัพย์นั้นให้ครบทั้ง 5 ประการ เพราะแต่ละข้อให้ประโยชน์แตกต่างกัน ควรจะขวนขวายเอาให้หมดจากเงินแม้น้อยหรือมากที่เรามีก็ตาม รู้จักบริหารเป็นสุขอยู่โดยธรรม ด้านบำรุงครอบครัวและมิตรให้พลังมีความเพียร ด้านป้องกันภัยให้มีเงินเก็บรู้จักลงทุน ด้านสละเพื่อสังคมทำให้มีกัลยาณมิตร และด้านที่สละออกแด่เนื้อนาบุญจะทำให้บุญนั้นให้ผล

ข้อที่ 43 อิฏฐสูตร ธรรมะ 5 อย่างที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา คือ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ แต่การได้มานั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินไปในสิ่งนั้น ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้มีปฏิปทาที่ให้เกิดผลนั้นอยู่ ถ้าเราสร้างเหตุเฉยๆ ไม่มีความอยาก มีความแยบคายในการปฏิบัติ อริยสาวกย่อมได้รับธรรมะห้าข้อนี้ ที่น่าสนใจ คือ เรามักสร้างเหตุถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าสอน แต่เงื่อนไขเราทำมันไม่ถูกต้อง เพราะทำตามความอยาก มันกลายเป็นอ้อนวอนทันที มันกลายเป็นที่น่าปรารถนาทันที ทั้งๆ ที่ไม่ได้คุกเข่าอ้อนวอนอย่างเดียวสร้างเหตุไปด้วย นั่นแหละผิด ต้องไม่อ้อนวอน ไม่อยาก อย่าไปเพลิน สร้างเหตุที่ถูกต้อง ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่มีปัญหา คนอย่างนี้จะรักษาประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าได้

ข้อที่ 44 มนาปทายีสูตร ผู้ที่ถวายของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ เหมือนกับคฤหบดีนี้ที่เห็นผลเมื่อไปเกิดในสวรรค์

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

อ่าน “สัปปุริสสูตร ว่าด้วยสัตบุรุษ”

อ่าน “อาทิยสูตร ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์”

อ่าน “อิฏฐสูตร ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา”

อ่าน “มนาปทายีสูตร ว่าด้วยผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ”


Timeline

[03:40] ข้อที่ 42 สัปปุริสสูตร ว่าด้วยสัตบุรุษ
[11:17] ข้อที่ 41 อาทิยสูตร ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
[25:23] ข้อที่ 43 อิฏฐสูตร ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
[38:17] ข้อที่ 44 มนาปทายีสูตร ว่าด้วยผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ