ทุกชีวิตล้วน “รักสุข เกลียดทุกข์” เวทนาจึงเป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำที่อยาก และไม่อยาก ล้วนมีเหตุเกิดมาจากเวทนาต่าง ๆ “เพราะอาศัยเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา และเพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ” ซึ่งในแต่ละคู่ของปฏิจจสมุปบาทนั้น จะดับที่คู่ไหนก่อนก็ได้คู่ปัจจัยอย่างอื่นที่ต่อเนื่องกันเป็นสายก็จะดับตามกัน

“เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ” ในพระอริยบุคคลที่ยังดำรงธาตุขันธ์อยู่นั้น ยังคงมีเวทนาอยู่เหมือนกัน เพียงแต่มีสติไม่เพลินไปตามเวทนาที่เสวยอยู่นั้น (เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญาในอริยสัจ 4) เมื่อไม่เพลินไปตัณหาจึงไม่เกิดขึ้น สัญญา สังขาร และวิญญาณก็ดับไปตาม

ญาณวัตถุ 44 คือ การเอาอริยสัจ 4 ไปใส่ไว้ในปฏิจจสมุปบาทในแต่ละอาการทั้ง 11 อาการ รวมได้ 44 อย่าง เกิดญาณในธรรม (ธัมมญาณ) และ ญาณในการรู้ตาม (อันวยญาณ) คือ การนำธัมมญาณไปสู่นัยยะอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และกับทุกคน

ญาณวัตถุ 77 คือ การนำเอาเหตุเกิดและเหตุดับ 2 ทั้งในอดีต 2 และอนาคต 2 และ ธัมมัฏฐิติญาณ 1 (ความเสื่อม จางคลาย ดับไป) ใส่ไว้ใน 11 คู่ของปฏิจจสมุปบาท รวมได้ 77 อย่าง 

ฟัง “ปฏิจจสมุปบาท–ทางพ้นทุกข์มีซ้อนอยู่ในทุกข์ (ตอนที่ 7)”


Timeline

[00:30] ปฏิบัติภาวนา เจริญธัมมานุสสติ
[09:05] คู่สำคัญของปฏิจจสมุปบาท
[12:05] แนวการปฏิบัติ ตัวอย่างในชีวิตจริง
[15:23] ขันธ์ 5 ในปฏิจจสมุปบาท
[40:01] ญาณวัตถุ 44
[46:48] โสดาบัน เข้าใจปฏิจจสมุปบาท
[52:38] ญาณวัตถุ 77