บุคคลเมื่อให้ทานแล้ว ควรพัฒนาตนเอง และปฏิบัติตามกาลอันควรด้วย “วิเวกสามประการ”

วิเวกสาม ประกอบด้วย

1. กายวิเวก วิเวกทางกาย กายที่ไม่มีอะไรมารบกวน

2. จิตตวิเวก วิเวกทางจิต จิตที่ไม่มีอะไรมารบกวน ด้วยสติที่ตั้งมั่นระลึกถึงจาคานุสสติ ทานที่สละออก เว้นจากกาม พยาบาท เบียดเบียน นิวรณ์ต่างๆ ด้วยจิตที่เป็นกุศล “สุขโสมนัสที่ประกอบด้วยกุศลธรรมจึงเป็นฐานะที่มีได้ในจิตบุคคล ผู้มีจิตตวิเวก”

3. อุปธิวิเวก วิเวกทางอุปธิ คือ จิตที่สงบระงับจากสังขารทั้งปวง ปราศจากการปรุงแต่ง การปรุงแต่ง นั้นคือ อุปธิ

กิเลส ขันธ์ห้า กุศล อกุศล บุญ บาป นิวรณ์ กายวิเวก จิตตวิเวก และต่างๆ ก็เป็นอุปธิ เหมือนกันหมด ให้เห็น การปรุงแต่ง เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยงเพราะอาศัยการปรุงแต่งกันและกันแล้ว จึงเกิดขึ้น มีเกิด มีดับ มีเกิด เรียกได้ว่า “เห็นอุปธิ เห็นกระแสแห่งการปรุงแต่งแล้ว ด้วยความวิเวก”

ก็จะมีความคลายกำหนัด คือ วิราคะ จิตน้อมไปในความหน่าย

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความดับได้เป็นธรรมดา สิ่งนั้น ก็ไม่ควรค่าที่จะยึดถือเอาไว้” 

จิตก็น้อมไปเพื่อการปล่อยวาง ด้วยสติ ปัญญา ให้เราเข้าถึงอุปธิวิเวก เดินตามทางมรรคมีองค์แปดเพื่อความดับเย็น คือ นิพพาน


Timeline
[00:01] สิ่งที่ประเสริฐมากกว่าการให้ทาน คือ วิเวกสาม
[02:18] กายวิเวก
[04:56] จิตตวิเวก
[07:13] จาคานุสติเป็นฐานเพื่อเข้าถึงวิเวก
[22:56] อุบายให้เกิดปีติจากวิเวก และความน่าอัศจรรย์ ห้าประการ
[35:53] ทุกข์โทมนัสที่ประกอบด้วยกุศล ทุกข์ของคนดี
[41:56] สุขที่ประกอบด้วยกุศลเกิดได้เพราะควบคุมความคิดได้
[46:53] พิจารณาความไม่เที่ยงของความวิเวกเพื่อพัฒนาสู่อุปธิวิเวกที่ไม่เอาทั้งบุญและบาป
[50:00] อุปธิวิเวกเห็นกระแสการปรุงแต่ง ไม่เที่ยง ไม่ควรยึดถือ มาตามมรรคสู่ความดับเย็น