“ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้มีการบรรลุธรรมขั้นสูง คือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ (การหลุดพ้นด้วยจิตกับปัญญา) ซึ่งเมื่อเจริญให้มากซึ่งสมถะและวิปัสสนา จะเป็นผู้ถอนรากตัณหาและอวิชชาออกได้ 

#ข้อ71_ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร และ #ข้อ72_ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร เมื่อปฏิบัติร่วมกัน (มีข้อธรรมที่เหมือนกันอยู่ 1 ข้อ คือ อนิจจสัญญา) จนมีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ละอวิชชา, การเกิดในภพใหม่, ตัณหา, สังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงได้หมดสิ้น

#ข้อ73_ปฐมธัมมวิหารีสูตร การเป็นผู้ที่อยู่ด้วยธรรมคือ ต่อให้เป็นผู้ที่เรียนธรรมมามากจนเทศนาบอกต่อได้ ท่องจำ และใคร่ครวญในธรรมนั้น แต่ถ้าห่างเหินการหลีกเร้น ไม่ทำความสงบในจิตใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม เน้นมาในเรื่องสมถะ 

#ข้อ74_ทุติยธัมมวิหารีสูตร เน้นมาในวิปัสสนา ทำปัญญาให้ยิ่ง คือกิเลสต้องลดลง กำจัดกิเลสออกได้ โดยการนำหลักธรรมที่เหมือนกันกับในปฐมธัมมวิหารีสูตรนี้ นำมาปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจ จนให้ผลเป็นความสงบใจ แล้วให้เกิดปัญญา

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

อ่าน “ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ 1“

อ่าน “ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ 2“

อ่าน “ปฐมธัมมวิหารีสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ 1“

อ่าน “ทุติยธัมมวิหารีสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ 2“


Tstamp

[03:40] ข้อที่ 71 ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
[09:50] ข้อที่ 72 ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
[23:11] ผลของการมีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
[30:35] ข้อที่ 73 ปฐมธัมมวิหารีสูตร / ข้อที่ 74 ทุติยธัมมวิหารีสูตร
[42:33] ความเหมือน-ต่าง ในข้อที่ 71 และ 72
[44:50] ผู้อยู่ด้วยธรรมและมีปัญญาอันยิ่ง