การได้พบหรือได้ไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์นั้น จะเป็นทางมาแห่งกุศลบุญหลายประการ ทำให้มีโอกาสได้กราบไหว้ ถวายทานในพระสงฆ์ ได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ โดยในข้อที่ #29_ทุติยปริหานิสูตร ข้อที่ #30_วิปัตติสูตร และ ข้อที่ #31_ปราภวสูตร มีนัยยะทิศทางเดียวกัน คือ ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อมโดยเน้นมาที่อุบาสกและอุบาสิกา ได้แก่ ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ การฟังธรรมโดยไม่คิดเพ่งโทษ ศึกษาในอธิศีล ได้ให้ทานและมีความเลื่อมใส่ในสงฆ์ 

ข้อที่ 32-33-34-35 มีเนื้อหาธรรมะเหมือนกันในห้าข้อแรกแตกต่างกันในสองข้อท้าย โดยมีเนื้อหาปรารภถึงเทวดาองค์หนื่งมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถึง “ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ” โดยประการที่เหมือนกัน ได้แก่ เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ และที่แตกต่างกันในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท มีปฏิสันถาร (การต้อนรับ) / มีหิริ โอตตัปปะ / เป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

อ่าน “ทุติยปริหานิสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม สูตรที่ ๒”

อ่าน “วิปัตติสูตร ว่าด้วยวิบัติและสมบัติของอุบาสก”

อ่าน “ปราภวสูตร ว่าด้วยความเสื่อมและความเจริญของอุบาสก”

อ่าน “อัปปมาทคารวสูตร ว่าด้วยความเคารพในความไม่ประมาท”

อ่าน “หิรีคารวสูตร ว่าด้วยความเคารพในหิริ”

อ่าน “ปฐมโสวจัสสตาสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย สูตรที่ ๑”

อ่าน “ทุติยโสวจัสสตาสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย สูตรที่ ๒”


Tstamp

[05:40] ข้อที่ 29 ทุติยปริหานิสูตร – ข้อที่ 30 วิปัตติสูตร – ข้อที่ 31 ปราภวสูตร
[09:45] อานิสงส์ 5 ประการ ที่เกิดจากการเยี่ยมเยียนภิกษุ
[39:43] ข้อที่ 32 อัปปมาทคารวสูตร ว่าด้วยความเคารพในความไม่ประมาท
[42:58] ข้อที่ 33 หิรีคารวสูตร ว่าด้วยความเคารพในหิริ
[45:01] ข้อที่ 34 ปฐมโสวจัสสตาสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย สูตรที่ ๑
[48:57] ข้อที่ 35 ทุติยโสวจัสสตาสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย สูตรที่ ๒